แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้ของกลุ่มอาชีพชุมชน ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ ศรีอพิชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การลดต้นทุนโลจิสติกส์ , กลุ่มอาชีพชุมชน , จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าของกลุ่มอาชีพชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และ2) เพื่อศึกษาแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพชุมชนในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กล่าวคือ    กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้นำกลุ่มอาชีพชุมชนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ได้ขึ้นทะเบียน OTOP ในแต่ละตำบลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 144 ราย เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับต้นทุน         โลจิสติกส์ในการผลิตสินค้า และผู้ให้ข้อมูลหลักเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำกลุ่ม/สมาชิกกลุ่มอาชีพ ประธานกลุ่มอาชีพ OTOP อำเภอบางพลี ผู้นำชุมชน ผู้ชำนาญงานอาชีพชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 28 ราย เพื่อศึกษาแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตสินค้าของกลุ่มอาชีพชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านต้นทุนการบริหาร       (=3.20) ด้านต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า (=3.11) ด้านต้นทุนที่เก็บสินค้า (=3.06) และด้านต้นทุนการขนส่ง (=3.02) และระดับความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ จำนวน 13 กิจกรรม ของกลุ่มอาชีพ OTOP อยู่ในระดับมาก (=3.51) และแนวทางลดต้นทุนโลจิสติกส์ของกลุ่มอาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การลดต้นทุนขนส่งสินค้า การลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้า การลดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า และการลดต้นทุนในการบริหารสินค้า

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และคณะ. (2546). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ท้อป.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2558). คู่มือการดำเนินการผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP. สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กุลบัณฑิต แสงดี และคณะ. (2558). แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ในการผลิตหัวมันสำปะหลังสด กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองกก ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10, (3), น. 213.

ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2560). ตีแผ่โครงสร้างระบบโลจิสติกส์ไทย. Focused and Quick (FAQ). กรุงเทพมหานคร : ธนาคารแห่งประเทศไทย.

เทพกร ณ สงขลา และคณะ. (2560). รายงานวิจัยเรื่อง สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการหนึ่งตำหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ธนสิทธิ นิตยะประภา. (2561). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 (2), น.476.

ธนาภรณ์ สมานทอง. (2561). การจัดการโซ่อุปทานผ้าไหมทอมือ ในจังหวัดสุรินทร์เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้า OTOP Premium. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOPเพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร. 34(1), น.177.

ธิชวดี ยัติสาร. (2551). การพัฒนาอาชีพผลิตเรือจำลองตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาอาชีวศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัสดิ์. (2561). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผู้ประกอบการ SMEs ของไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), น.197.

พิภพ เล้าประจง และมานพ ศรีตุลยโชติ. (2534). การบริหารของคงคลังและการวางแผนความต้องการวัสดุ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

มูหามัด เต๊ะยอ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำระบบโลจิสติกส์ของจังหวัดนราธิวาส. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ. (16-18 ตุลาคม 2556). 72.

รจนา สายอุตต๊ะ .(2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานของผ้าทอพื้นเมืองสินค้า OTOP ในจังหวัดหนองบัวลำภู. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2549). การกระจายตัวสินค้า=Physical distribution (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สริตา ศิริสมบูรณ์ชัย และพัฒน์ พิสิษฐเกษม. (2557). ความคิดเห็นในการใช้วิธีการทางด้านโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการลดต้นทุนการขนส่ง. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ. 4(3), น. 443.

สุพัตรา คำแหง และคณะ. (2558). การศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ลูกจันทน์เทศ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสหวิทยาการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวิชัย. ฉบับบัณฑิตศึกษา. 4 (2), น.20-21.

สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร และคณะ. (2561). การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้กับเกษตรกรชาวนาแห้ว จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 3, (2), น.468.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยระยะที่ 2. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ. (2562).ข้อมูลขึ้นทะเบียนโอทอป จังหวัดสมุทรปราการ. สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ.

เอกชัย คุปตาวาทิน. (2561). แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9 (2), น.48.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). 2552. ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ (7 wastes). ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2557, จาก http://www. stks.or.th/blog/?p=911.

Best, W. John. (1997). Research in Education. ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hell, Inc.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 608.

Lambert, D. M., & Ellran, L.M. (1998). Supply chain and logistics. Management : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26