ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว ในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
แรงจูงใจการท่องเที่ยว , ส่วนประสมทางการตลาด , ความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยว การรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเกาะพะงันอย่างน้อย 2 ครั้ง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 6 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาในการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในเกาะพะงัน ได้แก่ 1) แรงจูงใจการท่องเที่ยวด้านระหว่างบุคคลและด้านกายภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.180 2) การรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยวด้านสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยวและด้านความรู้สึกและการรับรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.248 และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 0.191 สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเกาะพะงันคือ ความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย
Downloads
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566ก). สถิตินักท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/657
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566ข). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2566, จากhttps://secretary.mots.go.th/download/article/article_20230327145011.pdf
ชิดชม กันจุฬา. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน. 2(1), น.13-33.
ณัฐอร เบญจปฐมรงค์ และชุติกา เกียรติเรืองไกร. (2565). การเปลี่ยนแปลงภาคการท่องเที่ยวไทย กับก้าวต่อไปหลังเปิดประเทศ. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/bot-magazine/Phrasiam-65-3/the-knowledge-65-3-3.html
นวพร บุญประสม และคณะ. (2564). แรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา : วัดสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 27(1), น. 113-127.
ปุณยวีร์ เดี่ยววานิช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนบนเกาะพะงัน. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรนภัทร์ ธนากิจสุวิสิฐ. (2561). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกลับมาเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยว เมืองรอง กรณีศึกษาจังหวัดน่าน. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วีระศักดิ์ คงฤทธิ์ และคณะ. (2561). การศึกษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พีพีทีวี. (2565). เสน่ห์เกาะพะงัน ติดอันดับโลกไม่มีตก. ค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.pptvhd36.com/travel/thailand/175534
สุบัญชา ศรีสง่า. (2561). โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวแบบเนิบช้าซ้ำโดยมีพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 16(1), น. 56-66.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Row.
Lee, S. W., & Xue, K. (2020). A model of destination loyalty: Integrating destination image and sustainable tourism. Asia Pacific Journal of Tourism Research. 25(4), pp. 393-408.
Tan, W.K.. & Wu, C.E. (2016). An investigation of the relationships among destination familiarity, destination image and future visit intention. Journal of Destination Marketing & Management. 5(3), pp.214-226.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว