พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการทำบุญ , หลักบุญกิริยาวัตถุ , วัดสังฆทานจังหวัดนนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน โดยใช้สูตรเทียบเคียงอัตราประชากรของเครซี่ แอนด์ มอร์แกน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference ) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธ ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ ในวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.55 เมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า คะแนนพฤติกรรมการทำบุญของชาวพุทธตามหลักบุญกิริยาวัตถุ การแปลผลอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านศีล ค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 ด้านภาวนา ค่าเฉลี่ย 3.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.80 และ การแปลผลอยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านทาน ค่าเฉลี่ย 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน 0.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำบุญของกลุ่มตัวอย่าง ที่มี เพศ สถานภาพ รายได้ต่อเดือน การศึกษา อาชีพแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการทำบุญตามหลักบุญกิริยาวัตถุไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ ประสบการณ์การทำบุญแตกต่างกัน ซึ่งสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้
Downloads
References
กันตภณ หนูทองแก้ว. (2556). การนำหลักบุญกิริยาวัตถุมาใช้ในวิถีชีวิตของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2556. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 15(1), น.165.
กิตติกร เกื้อกูล (ปากกาสีเงิน). (2556). เบิกบานพุทธวิถีเพื่อความงดงามของชีวิต. กรุงเทพมหานคร : บริษัทรุ่ง แสงการพิมพ์ จำกัด.
จรัสลักษณ์ ทองโอฬาร. (2564). แนวทางการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักบุญกิริยาวัตถุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรพุทธศาสตร(พระพุทธศาสนา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระแวงชัย ธมฺมกาโม, พระมหาบุญไทย ปญฺญมโน, และคณะ. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยบุญกิริยาวัตถุ. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14 (1), น.199-201.
พระกิตติพันธ์ กิตฺติพโล. (2563). วิเคราะห์บทบาทในการบำรุงพระพุทธศาสนาของอุบาสกอุบาสิกา : กรณีศึกษาตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 11( 2), น. 462-463.
พระครูปลัดกิตติวัฒน์ (เมธวัจน์ สีลภูโต). (2560). การปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชน : ศึกษาเฉพาะกรณีพุทธศาสนิกชนวัดบางนานอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุธีคัมภีรญาณ, และพระมหาสำรอง สญฺญโต. (2562). การส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของคนในครอบครัวด้วยการรักษาอุโบสถศีลของชุมชนชาวพุทธในเขตเทศบาลขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), น.891.
พระพีรญาภพพ์ ธารพนาลี. (2563). ศึกษาวิเคราะห์ วิมานในวิมานวัตถุ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(1), น. 71.
พระภัทรนันต์ ฐิตเสฏฺโฐ, และคณะ. (2559). ศึกษาวิเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ 3 ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท. วารสารปัญญาปณิธาน. 1(1), น. 22-28.
พระสมภพ โชตปัญโญ. (2559). บุญ ทาน น่าอัศจรรย์จริง. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์.
พระสาธิต รกขิตวํโส (เขื่อน คำแสน), และพระอธิการสมนึก จรโณ. (2564). ศึกษาวิเคราะห์วัตถุทานใพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 11(2), น. 4.
พาสนา สกุลอิสรยาภรณ์. (2564). การศึกษาแรงจูงใจในการทำบุญของชาวพุทธ ที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 6(2), น.227.
พิชาณันช์ เตชะประสิทธิวานิช. (2562). การปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ของพุทธศาสนิกชน วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4(2), น.31-32.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2563). การใช้หลักศาสนธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาตน: กรณีศึกษานักศึกษาที่เข้าเรียนวิชาพระพุทธศาสนาเบื้องต้น มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 23(2), น. 33.
สำนักเลขาการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 (Education in Thailand 2018). กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก http://plan.bru.ac.th.
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2531). จิตวิทยาการจัดการพฤติกรรมมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อักษรพิพัฒน์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Kohlberg, L. (1969). Stages and Sequence: The Cognitive Developmental Approach to Socialization Handbook of Socialization Theory and Research. Chicago : Rand McNaiiy and Company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว