ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ , หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 , ประชาชนเขตลาดพร้าว , กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.865 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม มีความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธ ในระดับปานกลาง ความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชนเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 3.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.44 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการต่อสู้เอาชนะอุปสรรค(วิริยะ) มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.52 แปลผลอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการมีความหวังกำลังใจ(ศรัทธา) มีคะแนนเฉลี่ยที่ 3.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.49 แปลผล อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ ด้านความอดทนต่อแรงกดดัน(ขันติ) ค่าเฉลี่ยที่ 2.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.63 แปลผลอยู่ในระดับปานกลาง 2)ผลการเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของประชาชน เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรสรายได้ต่อเดือน การศึกษาประสบการณ์เกี่ยวกับโรคโควิด 19 การรับรู้ศักยภาพตนเอง(ความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิต) ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความเข็มแข็งทางใจเชิงพุทธไม่แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ประสบการณ์การปฏิบัติธรรม(สวดมนต์ ทำสมาธิ) และการสนับสนุนทางสังคม(ครอบครัว)ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความเข้มแข็งทางใจเชิงพุทธความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
References
กรมสุขภาพจิต. (2552). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต (RQ: Resilience quotient). นนทบุรี :
ดีน่าดู.
กระทรวงสาธารณะสุข. (2565). สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศ
ไทย. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/intro.php.
ณิชาพัฒน์ คำดี. (2565). หลักภาวนา 4 กับการส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสาร
สหวิทยาการนวัตกรรมปริทัศน์. 5(2), น.79-84.
นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2564). ความยืดหยุ่น ทางใจ (Resilience) : วิถีใหม่ของการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการ
เผชิญวิกฤตชีวิตในยุคปัจจุบัน. วารสารจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 11(2), น.1-9.
เบญจมาศ นาควิจิตร. (2551). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและ
ความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประภาศรี ปัญญาวชิรชัย และภวมัย กาญจนจิรางกู. (2565). การศึกษาความเข้มแข็งทางใจของประชาชนใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 15(1), น.318–332.
พรทิพย์ เกศตระกูล และคณะ. (2566) พุทธจิตวิทยาการเสริมสร้างพลังใจเพื่อการเห็นคุณค่าแท้ในชีวิตของ
วัยรุ่น. วารสารพุทธจิตวิทยา. 8 (1), น.30 – 41.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2531). ชีวิตกับการทำงาน. ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2567, จาก
https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/work_and_life.pdf
พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้.
กรุงเทพมหานคร : บริษัท จุดทอง จำกัด.
ภราดา โชติกุล และบัวทอง สว่างโสภากุล. (2564). ความเข้มแข็งทางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง
และการเตรียมพร้อมเพื่อเกษียณอายุของพนักงานสายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย. 26(1), น.236.
ภาสินี โทอินทร์, พัฒนี ศรีโอษฐ์, สิริอร ข้อยุ่น, และรัชนี พจนา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็ง
ทางจิตใจกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 25(3), น. 110.
ไมตรี ธนาวัฒนะ, อิทธิพล ดวงจินดา, และวาสนา ธนาวัฒนะ. (2565). ผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อ
ความเครียดและการจัดการความเครียดของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขชุมชน. 4(1), น. 23.
วรตม โชติพิทยสุนนท์ และพจ ธรรมพีร. (2564). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาผลกระทบจากภาวะเหนื่อย
ล้าจากโรคระบาดที่มีต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในนักศึกษามหาวิทยาลัย. คลังความรู้สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567, จาก https://dmh-elibrary.org/items/show/527.
วิเชียร มันแหล่. (2564) ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(11), น. 335.
ศรีสกุล เฉียบแหลม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, และชุติมา มาลัย. (2562). การเยียวยาผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าด้วย
ธรรมะ : ธรรมชาติตามแนววิถีพุทธ วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33(3), น. 10-11 .
สุทธิพงษ์ ภารพันธ์. (2023). ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 สู่
การปรับตัวชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะโบ่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(3), น. 380.
สุริยะ หาญพิชัย และทัชวงศ์จุลสวัสดิ์. (2564). ผลกระทบของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โควิด 19 สู่การปรับตัวสู่ชุมชนวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(9), น.126 – 129.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ และคณะ. (2565). รายงานการวิจัยเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชน
ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) เขตสุขภาพที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.ค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2567, จาก
https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5481?locale-attribute=th.
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers
(general). Retrieved October 20, 2022, from. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019.
World Health Organization. (2022). COVID-19 pandemic triggers 25% increase in
prevalence of anxiety and depression worldwide
Retrieved August 12, 2023, from https://www.who.int/news/item/02-03-
-covid-19-pandemic-triggers-25-increase-in-prevalence-of-anxiety-and-depression-worldwide
Yıldırım M, Akgül Ö, & Geçer, E. (2021). The Effect of COVID-19 Anxiety on General Health:
the Role of COVID-19. Retrieved August 12, 2023, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33456406.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว