ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ศศิยาพร พรมพลเมือง สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สันติธร สิงลี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปรียาพร พิชิตรานนท์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สัญชัย เกียรติทรงชัย สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ร้านกาแฟรูปแบบมินิมอล , ความคาดหวัง , ส่วนประสมการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลใน เทศบาลเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรคือผู้ใช้บริการร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเลย เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว  และ LSD ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท และประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมีความคาดหวังมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลิตภาพ ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลใน เทศบาลเมือง จังหวัดเลย จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

References

จีระศักดิ์ คำสุริย์. (2562). รายงานตลาดอาหารในประเทศไทย มกราคม 2562 ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารสถาบันอาหาร. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก https://shorturl.at/ekwCN.

ชเนรินทร์ หมดห่วง. (2560). การจัดการธุรกจิและกลยุทธ์ 9Ps ของธุรกิจกาแฟแบรนด์ท้องถิ่นที่ ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ญาดา หลีนวรัตน์. (2565). เรื่องเล่าของกาแฟจากจุดเริ่มต้นสู่ปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก http://ica.swu.ac.th/news/detail/2/161.

ณัฐพล หิรัญเรือง. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Facebook ชาวไทยต่อการเผยแพร่ข้อมูลทางการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทศพร ลีลอย. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการคาเฟ่กลางทุ่งนา. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน2566, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4852/4/tossaporn.leel.pdf.

ธนวัฒน์ เพชรพันธ์. (2564). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่ในเขตพื้นที่สุขุมวิทกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

นงลักษณ์ ใจซื่อ. (2559). ความคาดหวังกับความพึงพอใจต่อการให้บริการธุรกิจร้านกาแฟร้านBlack Canyon กับร้าน S&P Blue Cupในจังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นฤมล จั่นวิลัยและดารารัตน์ สุขแก้ว (2567). เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจจากการใช้บริการร้านกาแฟคาเฟ ของผู้บริโภคเพื่ออรรถประโยชน์เทียบกับสุนทรียะ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์. 6(1), น. 1-17.

นัชชา แสนทวีสุข และศศิธร นกนาค. (2563). แนวทางการพัฒนาส่วนผสมทางการตลาดบริการของร้านอ้อมกอดแห่งบ้านนาทุ่งนามือปราบจอห์นนี่ฟาร์ม Stay ตำบลระเว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2556). เกณฑ์การแปลความหมาย Likert-Scale. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaiall.com/blog/tag/likert/.

พิชญา ขัดสี. (2564). การสร้างภาพแทน “เกาหลี” ในร้านคาเฟ่ในเมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลำดวน. (2564). แต่งบ้านแบบมินิมอลเรียบง่ายสบายตาน่าอยู่. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://golink.icu/oJg4563.

วิภาดา ทรวงชัย. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่

อเมซอนอำเภอเดชอุดมจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-15_1629776543.pdf.

สถาพร สิริโอภาคำ นันทนา ลาภวิเศษชัย และ ปภาดา อนันต์กีรติการ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อและพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟสตาร์บัคส์อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 14(1), น. 57-60.

สุภาภรณ์ จินดาวงษ์. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐมกรณีศึกษาร้านบ้านไผ่กาแฟสาขาที่ 209. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวพัชร สุรเชษฐพงษ์. (2558). ความคาดหวังของผู้บริโภคต่อส่วนผสมการตลาดร้านกาแฟอำเภอเมืองเมืองสมุทรสงคราม. การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Fisher, R. A. (1932). Statistical Methods for Research Workers. (4 th ed). Edinburgh: Oliver & Boyd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26

How to Cite

พรมพลเมือง ศ. ., สิงลี ส. ., พิชิตรานนท์ . ป. ., & เกียรติทรงชัย ส. . (2024). ความคาดหวังของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมการตลาดธุรกิจร้านกาแฟรูปแบบมินิมอลในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดเลย . วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 18(2), 106–121. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/journaldru/article/view/270094