การประเมินผลการจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในสังคมที่มีการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านหนองกุดแคน จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การประเมินผลการจัดประสบการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในสังคมที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกุดแคน จังหวัดนครพนม โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model (ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อ) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการ ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชน จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ แบบประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและคุณภาพของเครื่องมือ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดประสบการณ์แบบ 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) สำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เน้นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเป็นสื่อ พื้นที่สร้างสรรค์ภายในครอบครัวและชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและปราชญ์ชาวบ้าน โดยใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นฐาน และ 2) ผลการประเมินตาม CIPPIEST Model ใน 8 ด้าน พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่
พึงประสงค์ของการจัดประสบการณ์โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
คนข่าว. (2559). สื่อสร้างสรรค์'จากพลังชุมชนมหัศจรรย์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564, จาก https://konkao.net/read.php?id=20908.
ณิชาภัทร คงชุม, ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ และสำเริง จันชุม. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในยุคประเทศไทย 4.0 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังไกร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 5(2), น.227-242.
ธนาคารจิตอาสา. (2558). ธนาคารจิตอาสา ปันเวลาแชร์ความสุข. คนเมื่อ 4 เมษายน 2558, จาก http://www.jitarsabank. com/welcome/home.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 7-24.
วัชราภรณ์ ศรีโนนยาง และนิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2562). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ขอนแก่น.
ศักดิ์นิรุทร สุขประเสริฐ. (2559). การประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ในสถานศึกษา โรงเรียนบึงมะลูวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.
ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.
สาคร ผมพันธ์. (2561). ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ “โครงการนักสื่อสารเยาวชน
คนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด”. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
Kristianus, Mote. (2017). The Developing of CIPP Evaluation Model on the Evaluation of Early Childhood Educator Training in Early Children Education Development Center for Early Children and Community Education North Sumatera. 139-144. doi: 10.2991/AISTEEL-17.2017.30.
Elma, Dijkstra., Ton, Mooij., Paul, A., Kirschner. (2012). Model of Excellent Kindergarten Learning for Excellent Pupils.
David, Poveda., Mitsuko, Matsumoto., Ebba, Sundin., Helena, Sandberg., Cristina, Aliagas., Julia, Gillen. (2020). Space and practices: Engagement of children under 3 with tablets and televisions in homes in Spain, Sweden and England: Journal of Early Childhood Literacy, 20(3):500-523. doi: 10.1177/146879842 0923715.
Gede, Ratnaya., Retno, Indriaswuri., Desak, Gede, Chandra, Widayanthi., I, Made, Dharma, Atmaja., A., G., P., K., Dalem. (2022). CIPP Evaluation Model for Vocational Education: A Critical Review. Education Quarterly Reviews, 5(3) doi: 10.31014 /aior.1993.05.03.519.
Terhi, Tuukkanen., Elina, Pekkarinen. (2022). Children's experiences of a good environment and its future Developing theoretical framework for children's wellbeing. Children & Society, 37(2):343-358. doi: 10.1111/chso.12595
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว