การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุชาดา ธโนภานุวัฒน์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร , เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และ3) หาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี เป็นการวิจัยแบบผสม ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารในชุมชน โดยใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพเลือกผู้ให้ข้อมูลจากการสุ่มแบบเจาะจงจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ด้านการวางแผนส่งเสริมองค์กรและมีอำนาจในการตัดสินใจการกำหนดแนวทางการส่งเสริมองค์กรนั้นๆ รวมทั้งผู้ที่มีผลประโยชน์หรือได้ รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวในพื้นที่ จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี เพื่อหาประสบการณ์ท่องเที่ยวใหม่กับเพื่อน/คนรู้จัก ในช่วงวันเสาร์ - วันอาทิตย์ โดยมานานๆครั้ง แล้วแต่โอกาส มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 501 - 1,000 บาทต่อครั้ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ ได้แก่ ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี ตลาดวังหลัง เขตบางกอกน้อย ตลาดพลู เขตธนบุรี และย่านวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ ตามลำดับ 2) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบุคลากร ผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.53) รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย 4.47) และด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 4.44) 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารของชุมชนในเขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารตามวิถีชุมชน การจัดการระบบคมนาคมล้อ ราง เรือ ให้ครอบคลุมเชื่อมต่อการเดินทางให้เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก เพิ่มป้ายบอกทาง/ป้ายบอกร้านอาหาร/แผนที่ให้ครบถ้วนในจุดที่เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ควรมีห้องน้ำสาธารณะและที่จอดรถให้เพียงพอ ควรพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการทางการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพพร้อมต่อการให้บริการ และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. (2560, 21 กรกฎาคม). อาหารถิ่นสู่มิชลินสตาร์ Interviewer: ประชาชาติธุรกิจ. ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์.

เณรัญชรา กิจวิกรานต์. (2557). ภาพลักษณ์อาหารไทย การรับรู้คุณภาพอาหารไทยและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 10(1), น.1.

จิระนันท์ กมลนรากิจ. (2560). แนวทางการพัฒนาร้านอาหารฮาลาลเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

ชุติมา นุตยะสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(1), น.132-150.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : วี อินเตอร์พริ้นท์.

นพวรรณ น้ำทับทิม. (2562). การท่องเที่ยว 3 วัฒนธรรมอาหารในเขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ และเขตคลองสาน. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.

บัณฑิต อเนกพูนสุข. (2560). Food on the Move. จุลสารวิชาการการทองเที่ยวแหงประเทศไทย. 3(1), น.8-19.

ภัทรพร พันธุรี. (2558). การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 8(2), น.27-37.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2560). การนำเสนอทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ปี 2561. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สุธินดา ใจขาน, อัจฉริยา สุริยา และทิวารัตน์ ศรีราตรี. (2557). การศึกษาศักยภาพของอาหารพื้นบ้านกับการท่องเที่ยวของเมืองมรดกโลกหลวงพระบางเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4. น.650-657.

อิศริย์ เดชตานนท์ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยการศึกษากลยุทธ์การจัดการเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Anekpoonsuk, B. (2017). Food on the move. TAT Review. 3(1), p.8-19.

Boyne, S., & Hall, D. (2004). Place promotion through food and tourism: Rural branding

and the role of websites. Place Branding. 1(1), p.80-92.

Chang Ching Yu, Richard, Ph.D. (2007). “An analysis of the Chinese leisure travelers’ dining-out experiences while holidaying in Australia and its contribution to their visit satisfaction”. Unpublished Ph.D dissertation, School of Hotel and Tourism Management ,The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons, Inc.

Fields, K. (2002). Demand for the gastronomy tourism products: Motivational factors.

In A. M. Hjalager & G. Richard (Eds.), Tourism and gastronomy (p.36-50). London: Routledge.

Hall, C.M. (2001) The development of rural wine and food tourism networks: factors and issues. In: New Directions in Managing Rural Tourism and Leisure: Local Impacts, Global Trends, Scottish Agricultural College, Ayr, UK.

Hall, M., Mitchell, R., & Sharples, L. (2003). Consuming places: The role of food, wine and tourism in regional development. In C. M. Hall, B. Cambourne, L. Sharples, N. Macionis, & R. Mitchell (Eds.), Food Tourism Around the World Development, management and markets (p. 25-59). Burlington: Elsevier.

Henderson, J. C. (2009). Food tourism reviewed. British food journal. 111(4), p.317-326.

Zainal, A., Zali, A. N., & Kassim, M. N. (2010). Malaysian gastronomy routes as a tourist destination. Journal Tourism, Hospitality and Culinary Arts. 2(1), p.15-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26