กลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวตำบลเข็กน้อย และ 3. เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การตลาดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมของตำบลเข็กน้อย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จำนวน 32 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 8 คน เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 4 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในตำบลเข็กน้อย จำนวน 20 คน และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ตำบลเข็กน้อย มีพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการท่องเที่ยว 2. ประเพณีและงานประจำปี 3. ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. ภาษาถิ่น และ 5. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก 2. สาเหตุหลักที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมาเที่ยว คือการเดินทางสะดวก ต้องการเที่ยวประเพณีปีใหม่ม้ง และต้องการชิมอาหารพื้น 3. กลยุทธ์การตลาดที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม ควรมุ่งเน้นวิธีการ 1. การโฆษณา 2. การประชาสัมพันธ์ 3. การส่งเสริมการขาย และ 4. การขายโดยบุคคล เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้สามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ รวมทั้งการจัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมอย่างเป็นเอกเทศ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมทำกิจกรรมนั้นได้ เพื่อดึงดูดความสนใจให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
References
มนรัตน์ ใจเอื้อ. (2559). รูปแบบการตลาดเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม: ชุมชนบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี. 12(3). 12-24.
วรรษมน จันทดิษฐ์. (2552). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยศึกษากรณี ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัด สมุทรสงคราม. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุภาพร วิชัยดิษฐ์. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยวชาวไทย : กรณีศึกษา เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(1).166-179.
สุนิษา เพ็ญทรัพย์ และปวัณรัตน์ แสงสิริโรจน์. (2555). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษา บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2555.
สุมิตร สุวรรณ. (2558). การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation), กรุงเทพฯ : เพชรเกษมพริ้นติ้ง, หน้า 14.
อรอุมา เตพละสกุล และนาฬิกา อติภัค. (2555). การสร้างและธารงรักษาความยั่งยืนของ ชุมชนผ่านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 18 เมษายน 2564 :htpp://www.dasta.or.th.
อาทิตย์ แซ่ย่าง. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อิทธิพล โกมิล. (2553). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษาบ้านวังน้ำมอก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-03 (2)
- 2024-06-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว