แนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา รูปแบบการผลิตรายการออนไลน์ และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด (Influencer) และผู้ชมรายการผ่านทางแอปพลิเคชัน TikTok ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ์ณัชชา พัฒนะนุกิจ สาขาวิชาการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศรายุทธ ชูพันธุ์ สาขาวิชาการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วรพันธ์ วรกิจพันธ์ สาขาวิชาการสร้างสรรค์ดิจิทัลคอนเทนต์และสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • นาวินี รอดแก้ว มณีโชติปีติ สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เบ็ญจมาภรณ์ สุธิราวุธ สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์เนื้อหา , การผลิตรายการออนไลน์ , กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด , TikTok

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างสรรค์เนื้อหา รูปแบบการผลิตรายการออนไลน์ และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดผ่านทางแอปพลิเคชัน TikTok 2) ศึกษามุมมองของผู้รับสารที่ชมรายการของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดผ่านทางแอปพลิเคชัน TikTok 3) ศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหา รูปแบบการผลิตรายการออนไลน์ และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดและผู้ชมรายการผ่านทางแอปพลิเคชัน TikTok กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ (1) ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด เผยแพร่รายการไม่ต่ำกว่า 1 ปี มียอดผู้ติดตามไม่ต่ำกว่า 100,000 คน จำนวน 5 คน (2) ผู้ชมที่กดติดตามรายการของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในแอปพลิเคชัน TikTok มีผู้ติดตามไม่ต่ำกว่า 100,000 คนและไม่น้อยกว่า 5 รายการ จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหารายการ (Content Analysis) จำนวน 10 รายการบนแอปพลิเคชัน TikTok ในระยะเวลา 1 ปี (เดือน ตุลาคม 2565 - เดือน ตุลาคม 2566) ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้  1) การสร้างสรรค์เนื้อหา ควรอยู่ในความสนใจของสังคม เนื้อหารายการและรูปแบบการผลิตรายการควรสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของผู้นำเสนอรายการ เลี่ยงประเด็นความขัดแย้งทางสังคม ส่วนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด เน้นเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่ได้ใช้สินค้าจริง 2) มุมมองของผู้ชมรายการจะเลือกติดตามรายการที่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 3) แนวทางการสร้างสรรค์เนื้อหาควรปรับเนื้อหาให้อยู่ในกระแสสังคม กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดควรสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้ชม เน้นเทคนิคการตัดต่อภาพและเสียงประกอบ คำนึงถึงความสนใจของผู้ชมรายการที่จะพัฒนาไปสู่การขยายฐานผู้ชมกลุ่มใหม่ที่เกิดจากการบอกต่อของแฟนรายการผ่านสื่อออนไลน์

References

กุลนาถ วรรัฐกฤติกร. (2564). คุณลักษณะของ Power Influencers ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการร้านคาเฟ่ของผู้บริโภคในประเทศไทย. สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กัญญาภัค ทิศศรี. (2565, 13 ตุลาคม). ‘ครีเอเตอร์’ อาชีพมาแรงในกลุ่ม Millennials ทำแล้ว ‘เงินดี-มีความสุข’. กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1074058

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ออนไลน์). (2565). กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thaimediafund.or.th/

ดวงใจ แซ่ฉั่ว และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2563). กระบวนการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์ทางการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. (2). น.1-23

นวรัตน์ ลัคนากุลกา. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจผ่านแอปพลิเคชัน TikTok การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประภาศิริ พุ่มเอี่ยม. (2564). การวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารผ่านการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ติดตามบน แพลตฟอร์ม Facebook Fanpage สีเจล ราคาถูก ขายส่งอุปกรณ์ทำเล็บ เสริมสวย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัสสรนันท์ เอนกธรรมกุล. (2553). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (Celebrity) ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้าหลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาริน ทองเจือ และวรัชญ์ ครุจิต. (2566). รูปแบบและกลยุทธ์การสร้างเนื้อหาของนักรีวิวอาหารบนแพลตฟอร์ม TikTok. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. (17)2, น.1-29

สุดารัตน์ แสงแก้ว ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์ และปรีดา ศรีนฤวรรณ. (2561). คุณลักษณะและความชัดเจนของผู้มีอิทธิพลทางการตลาด : กลุ่มผู้นำทางความคิด. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 40(3). น.1–24.

เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์บุคคล : ปั้นคนให้เป็นแบรนด์. วารสารนักบริหาร. 31(1), น.106-116

บัณฑิตา เปล่งพานิช. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อพัฒนารูปแบบรายการโทรทัศน์ประเภทรายการเด็ก. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บริษัท ฟิลกู้ด เทคโนโลยี จำกัด. (2566). ตอบข้อสงสัย tiktok คืออะไร ทำไมอยู่ดี ๆ ถึงเป็นแพลตฟอร์มมาแรง. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม. 2566, จาก https://shorturl.asia/gCdT5

พงศกร ปัญญาทรานนท์. (2559). อิทธิพลของรูปแบบการสื่อสารการตลาดและผู้ทรงอิทธิพลในสื่อเฟซบุ๊กของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนขนาดเล็กที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พีรรัฐ วนาเฉลิม. (2563). การศึกษาเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2566, จาก http://www.journalgrad.ssru.ac.th/index.php/8thconference/article/view/2329

พิชาภพ บุญเลิศ, มรรยาท ลิ้มโอฬารสุขสกุล และกฤษฎา สุริยวงศ์. (2557). การพัฒนาคลิปวีดิโอสั้นโดยใช้นาโน-อินฟลูเอนเซอร์ผ่านช่องทางติ๊กต็อกและการจัดทําบัญชีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนบ้านถ้ําเสือโฮมสเตย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 6(1), น.57-70

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2561). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ทันใจ.

สุชานันท์ อารีย์ราษฎร. (2561). การศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชัน ติ๊กต๊อก. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก https://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS01/PDF01/1617_20190522_p_101.pdf

สันธยา โลหะพันธกิจ. (2548). การสัมมนาการโฆษณา ปีการศึกษา 2548. เอกสารประกอบการบรรยาย Branding & Personal Branding. ปทุมธานี.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

อุทุมพร สุขวงกฏ. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับชมและความพึงพอใจต่อรายการ ห้องข่าว 7 สี ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7. คณะนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อดิเทพ บุตรราช. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์(Social Network). ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก http://km.ru.ac.th/computer/?p=199

อลิสา เพียรลุประสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การผลิตเนื้อหารายการออนไลน์และความคิดเห็นของผู้ชมรายการผ่านช่อง NANAKE555 บนเว็บไซต์ยูทูบ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Aaker D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free.

Bashar, A. (2012). Effectiveness of Social Media as a Marketing Tool: An Empirical Study. Retrieved March 14, 2023, from https://www.researchgate.net

DATAREPORTAL. (2023). DIGITAL 2023: THAILAND. Retrieved October 16, 2023, from https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand

Digimusketeers. (2566). รู้จักtiktok ดีพอหรือยัง (Online). ค้นเมื่อ 8 กันยายน 2566, จาก https://digimu sketeers.co.th/blogs/online-marketing/what-is-tiktok

DroidSans. (2566). คนไทยเข้าเว็บอะไรมากที่สุด? เช็คสถิติการใช้สื่อดิจิทัล อินเทอร์เน็ตของคนไทย. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://droidsans.com/the-state-of-digita-in-thailand-in-2023

Duygu, F. (2019). YouTube advertising value and its effects on purchase intention. Retrieved October 16, 2023, from https://www.semanticscholar.org

Hunt, T., & Ruben, B. D. (1993). Mass communication: Producers and consumers. NY: Harper Collins College.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. Glencoe, IL: The Free Press.

KRISTIN H. C. (2016). Don't avoid content marketing: How to turn your excuses into action. Journal of Financial Planning. Retrieved October 16, 2023, from https://www.onefpa.org/journal/Pages/JUL16-Don%E2%80%99t-Avoid- Content-Marketing-.aspx.

McQuail, D. (2000). Mass Communication Theory. Sage Publications. London.

Ni Putu Ananda Putri Pertam. (2021). The Role of User’s Attitude Mediating The Effect of Perceived Ease of Use and Social Influence towards The Continuance Usage Intention of TikTok. Retrieved October 3, 2023, from

http://www.internationaljournalssrg.org/IJEMS/2021/Volume8-Issue1/IJEMS-V8I1P110.pdf

Qiyang Zhou. (2019). Understanding User Behaviors of Creative Practice on Short Video Sharing Platforms-A Case Study of TikTok and Bilibili. Retrieved October 3, 2023, from https://etd.ohiolink.edu/apexprod/rws_etd/send_file/send?accession=ucin155421202112 545&disposition=inline

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), pp.49-60.

Rocket. (2023). Content Marketing คืออะไร ทำอย่างไรให้คอนเทนต์ปัง พร้อมยกตัวอย่าง. Retrieved October 3, 2023, from https://www.rocket.in.th/blog/content-marketing/

Santora J. (2024). 12 Types of Influencers You Can Use to Improve Your Marketing. Retrieved October 3, 2023, from https://influencermarketinghub.com/types-of-influencers/

Tiktok.com. (2023). TikTok - Make Your Day. Retrieved October 3, 2023, from https://www.tiktok.com/th-TH/

Yiran, S. (2020). Fan engagement in fifteen seconds: Athletes' relationship marketing during a pandemic via TikTok. Retrieved October 3, 2023, from https://journals.humankinetics.com/view/journals/ijsc/13/3/articlep436.xml

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28 — Updated on 2024-07-03

Versions