This is an outdated version published on 2024-06-28. Read the most recent version.

การสร้างสรรค์ลายผ้าย้อมครามด้วยเทคนิคเขียนเทียน

ผู้แต่ง

  • อำนาจ สุนาพรม สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นะกะวี ด่านลาพล สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

มัดหมี่, ย้อมคราม, เขียนเทียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ภูมิปัญญาการผลิตผ้ามัดหมี่ การสร้างลวดลายหมี่ด้วยเทคนิคการเขียนด้วยเทียน และประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก พัฒนาต้นแบบ ทดลองและปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ปราชญ์ภูมิปัญญา ผู้ผลิตอผ้าย้อมครามบ้านนาขามและบ้านหนองครอง ต.เชิงชุม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าผู้ไท     มีวัฒนธรรมการทอผ้ามัดหมี่ลวดลายแบบดั้งเดิม มีความพยายามพัฒนาลวดลายผ้าให้ตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น ลวดลายผ้าทอที่ได้จากเทคนิคการเขียนเทียน มีความโค้งมน สามารถสร้างลวดลายผ้าได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นลวดลายเรขาคณิตและลวดลายอิสระ ใช้ความร้อนต้มละลายเขียนบนเส้นฝ้ายแทนการมัดด้วยเชือกฟาง ใช้เทียนซ้ำได้หลายครั้ง ช่วยลดขยะ และลดเวลาในการมัดหมี่จากเดิมใช้เวลา 2 วัน เหลือ 20-30 นาที ผ้าที่ได้จากเทคนิคนี้จะมีลวดลายที่แปลกใหม่ สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย การศึกษาความพึงพอใจจากผู้บริโภคที่มีต่อผ้ามัดหมี่ย้อมครามด้วยเทคนิคเขียนเทียน จำนวน 300 คน พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อลวดลายผ้าเขียนเทียนย้อมครามแบบที่ 3 ลวดลายอิสระมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.34

References

โกศล พิณกุล. (2545). เทคนิคการทำผ้าบาติก. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร : ข้าวฟ่าง.

บรรจง จงสมชัย. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านความเชื่อในการผลิตผ้าผู้ไทยเชิงพาณิชย์ จังหวัดกาฬสินธุ์. ระดับวิทยานิพนธ์ สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประนอม เคียนทอง. (2551). พลวัตและการปรับตัวของการสรางเครือขายธุรกิจผาทอมือมัดหมี่ชุมชนไทยพวน จังหวัดลพบุรี. ระดับวิทยานิพนธ์ สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศุภมิตร สร้อยจิต. (2562). ผ้าบาติกสีคราม : มิติความงามวิถีปัตตานีสู่งานศิลปะ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 29 (2), น. 1-11.

สรัญญา ภักดีสุวรรณ. (2552). การออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดมหาสารคามในบริบทวัฒนธรรมร่วมสมัย. ระดับวิทยานิพนธ์. สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวดี ประดับ, เสาวลักษณ์ คงคาฉุยฉาย, และกฤตพร ชูเส้ง. (2556). การพัฒนาผ้าบาติกเพื่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับกลุ่มอาชีพสหกรณ์ศิลปประดิษฐ์ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. สกลนคร: สำนักงานจังหวัดสกลนคร

อำนาจ สุนาพรม, นะกะวี ด่านลาพล, และแสนสุรีย์ เชื้อวังคำ. (2566). การสร้างสรรค์ลายผ้าย้อมครามด้วยเทคนิคเขียนเทียน. สกลนคร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3rded). New York : Harper.

Sunarya, Y.Y. (2016). Identity of Indonesian Textile Craft: Classic to Modern Batik. Faculty of Visual Art and Design Bandung Institute of Technology. INDONESIA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

Versions