ปัญหาและบทบาทของหลักสูตรการจัดการศิลปะ ในการพัฒนาอาชีพของนักศึกษาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยฉีฉีฮาร์ มณฑลเฮหลงเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • จางเว่ยฮั่น สาขาการจัดการศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชัยยศ วนิชวัฒนานุวัติ สาขาการจัดการศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

หลักสูตรการจัดการศิลปะ , การพัฒนาอาชีพศิลปะ , นักศึกษาศิลปกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและบทบาทของหลักสูตรการจัดการศิลปะต่อการประกอบอาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาเอกศิลปะ 2) วิเคราะห์ปัญหาและบทบาทของหลักสูตรการจัดการศิลปะในการพัฒนาอาชีพของนักศึกษาศิลปะ มหาวิทยาลัยฉีฉีฮาร์ มณฑลเฮหลงเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลของหลักสูตรการจัดการศิลปะ ด้วย SWOT ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาหลักสูตรการจัดการศิลปะ  ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการจัดการศิลปะของมหาวิทยาลัยฉีฉีฮาร์ มีเนื้อหาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และมีเนื้อหาการจัดการศิลปะทางด้านการออกแบบและการจัดนิทรรศการเท่านั้น ไม่ครอบคลุมด้านการจัดการศิลปะ นักศึกษาไม่สามารถจัดการผลงานศิลปะของตนเองสู่ตลาดงาน อุตสาหกรรมศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากนี้ บทบาทของหลักสูตรในการผลิตบัณฑิตสู่ตลาดแรงงาน การประกอบอาชีพอิสระ ศิลปิน ต้องปรับเปลี่ยนภายใต้สถานการณ์ของสังคมเพื่อให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพในยุคปัจจุบัน 2) ปัญหาและบทบาทของหลักสูตรการจัดการศิลปะ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อหลักสูตร ปัจจัยภายใน ได้แก่ ทักษะด้านการจัดการศิลปะ ความรู้ทักษะทางธุรกิจการตลาด การจัดโครงการ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล แพลตฟอร์มออนไลน์ การเติบโตของอุตสาหกรรมวัฒนธรรม การสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการยกระดับพัฒนาเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพทางศิลปกรรม การบูรณาการอาชีพ การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การจัดการโครงการความร่วมมือสถาบันระดับชาติและนานาชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบถึงบทบาทการผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน อุตสาหกรรมศิลปะและวัฒนธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

References

Liu Yari. (2019). Research and Practice of innovation and entrepreneurship ability of college student under school-enterprise collaborative talent cultivation mode Science Consulting. Science and Technology-Management. 5 (11), pp. 158-160.

Ministry of Education of the People’s Republic of China. (2021). Chinese University Graduates. Retrieved November 12, 2023, from http://www.moe.gov.cn/jyb_sjzl/moe_560/2021/quanguo/

Smith, P., & Brown, A. (2016). Arts management education: Preparing students for a sustainable future. Arts and Humanities in Higher Education.

Wan Zhanzhan. (2020). Problems and countermeasures in art management practice teaching. Art View. 2020 (01), pp. 57-85.

Wang, Y., & Jin, X. (2019). Exploring the integration of arts education and arts management: A case study of a Chinese art academy. International Journal of Music Education. 37 (2), pp. 235-247.

Yu Lin. (2022). The construction of art management talent training system under the perspective of new liberal arts. Journal of Kaifeng Culture and Art Vocational College. 1 (12), pp. 108-110.

Zhang, L. & Zhao, S. (2017). The role of arts management education in Chinese universities. Journal of Arts Management, Law, and Society. 47 (1), pp. 16-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28 — Updated on 2024-07-05

Versions