การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้ , หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ, ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนหนองสำโรงวิทยา อ.เมือง จ.อุดรธานี จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์โดยใช้หนังสือนิทานภาพ 3 มิติ เพื่อลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบสอบถามความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้ มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และ การวัดผลและประเมินผล มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.80 S.D.= 0.32) รูปแบบการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 94.67/80.562. นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3. ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนมีความวิตกกังวลลดลง
References
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). การจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์.
จารุวรรณ มโนมัยกิจ, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ และ ประยูร บุญใช้. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพด้านการจัดการ เรียนรู้สำหรับครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(3), น.115-123
จิตตา สุขเจริญ และ ปทิตตา ปิยสกลุเสวี. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมทักษะการฟังและการ พูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์ธนบุรี. วารสารสห วิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา. 1(2), น.71-82.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), น.7-20.
ณรงค์ฤทธิ์ สุทธิรักษ์, อารีรักษ์ มีแจ้ง และ ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารกับกลวิธีการเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถ การพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตวิจัย. 14(1), น. 1-16.
นิภาพร เฉลิมนิรันดร. (2561). การใช้บทบาทสมมติเพื่อลดความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษใน ฐานะภาษาที่สอง: กรณีศึกษานักเรียนชาวภูฏาน ระดับชั้นประถมศึกษาปที่ 6. วารสารศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร. 16(2), น.223-239.
ภัทรวิน แจ้งใจ และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2566). การพัฒนาบทเรียนผ่าน Google Classroom ร่วมกับแอปพลิเคชันด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับงานเกษตร เพื่อ พัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารการ บริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 9(8), น.1072-1081.
โรงเรียนหนองสำโรงวิทยา. (2564). รายงานผลการเรียนรู้ประจำปีการศึกษา 2563-2564 โรงเรียนหนองสำโรงวิทยา จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี : โรงเรียนหนองสำโรงวิทยา.
ศิวะรักษ์ ศรีละ และ สุจิน บุตรดีสุวรรณ. (2561). การพัฒนาแนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการมีวินัยของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(69), น.130-139.
สิริรัตน์ เวียงอินทร์, สุรกานต์ จังหาร และ วนิดา ผาระนัด (2566). การจัดการเรียนรู้ตามแนวการ สอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 22(2), น. 1-9.
โสภิต สุวรรณเวลา และ สุชาดา อ่อนรู้ที่. (2565). ผลการใช้รูปแบบหนังสือภาพประกอบสร้างสรรค์ 3 มิติ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษา ช่วงอายุ 1-3 ปี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทาง สุขภาพ. 5(1), น. 137-148.
หทัยนัทธ์ มณฑา.(2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการคิดเป็นภาพส่งเสริม ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เอษณ ยามาลี. (2564). ความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศปัญหาที่มิอาจมองข้าม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร. 10(2), น .207-221.
Tayyebi, G. (2021). The relationship between the anxiety level of Iranian elementary EFL learners and their vocabulary learning strategies. Contemporary Educational Researches Journal. 11(4), pp. 161-175.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-03 (2)
- 2024-06-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว