This is an outdated version published on 2024-06-28. Read the most recent version.

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย วัฒนพานิช สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยดุสิตธานี
  • วิลาสินี ยนต์วิกัย สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยดุสิตธานี

คำสำคัญ:

คุณภาพการให้บริการ, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจเลือกใช้บริการ , ร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการร้านอาหารขนาดกลางแบบร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี 3) วิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี และ 4) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่เลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางแบบร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานีทั้งหมด 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี สถานภาพสมรส จบระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้ต่อเดือน 35,001-45,000 บาท 2) ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) คุณภาพการให้บริการ ได้แก่ ด้านการเข้าใจและรู้จักลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ และด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้าส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานีที่ร้อยละ 46.2 และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารขนาดกลางร่วมสมัยในจังหวัดปทุมธานี ตามลำดับที่ร้อยละ 65.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). หลักสถิติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงการคลัง. (2565). ประมาณการเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://www.fpo.go.th/main/getattachment/Economic-report/ThailandEconomic-Projections/17156/.

กลิ่นสุคนธ์ บรรทัดจันทร์. (2564). การศึกษาอิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารของ คนในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกอ ซ่ง. (2560). คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและความใส่ใจใน สุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนใน กรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จารุชา เหมไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารยกยอริมคลองสมุทรสาคร. การค้นคว้า อิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

จิดาภา สดสี และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). สื่อสังคมออนไลน์ ความรับผิดชอบต่อสังคมของลูกค้า และคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการคาเฟ่สำหรับคนรักแมวในเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐวุฒิ รุ่งเสถียรภูธร และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). ประเภทของร้านอาหาร คุณภาพของอาหาร คุณภาพการบริการ และสื่อสังคมออมไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารสำหรับมื้อค่ำของประชากรในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญญ์ธิชา รักชาติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นารีรัตน์ ติภากร. (2560). การศึกษาความคาดหวังคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวเมืองอันซีประเทศฝรั่งเศส.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปภัค อุดมธรรมกุล ธัญญา สุพรประดิษฐ์ชัย และสิทธิกรณ์ คำรอด. (2563). ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยทางสังคมและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19.วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (3), น.25-38.

ภูริ ชุณห์ขจร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหารรางวัลมิชลินสตาร์ในประเทศไทย.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (2), น.145

เมทินี มีพันธ์. (2561). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารประเภทบุฟเฟต์ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 2(2),152-167.

วราภรณ์ จุนแสงจันทร์. (2558). ภาพลักษณ์ของร้านและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ของลูกค้าที่ใช้บริการร้าน Pets' Ville. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/ 123456789/1558/1/waraporn_chun.pdf

ศุภริน เจริญพานิช. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจ SMEs (Quick Study) สาขาธุรกิจร้านอาหาร. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/downl oad2021090916132.pdf.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Gronroos, C. (1984). A Service Quality Model and Its Marketing Implications. MCB UP.

Hashim, N., & Hamzah, M.I. (2014). 7P’s: A Literature Review of Islamic Marketing and Contemporary Marketing Mix. Social and Behavioral Sciences. 130, pp.155-159

LE CORDON BLEU DUSIT. (2023). Creative Thai Cuisine. Retrieved March 12, 2566, จาก https://www.cordonbleu.edu/news/lcbd-creative-thai-cuisine-article/th.

Zeithaml, V. A., Berry, L. L. & Parasuraman, A. (1996). The Behavioral Consequences of Service Quality. Journal of Marketing. 60, pp. 31-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

Versions