แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • นิชาภา พิมพสุต สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว , การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม , พื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี มีจุดประสงค์การศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีในมุมมองของประชาชน  2)  เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงเอกสารและจากการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ เปิดเวทีประชาคม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลัก 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยว 2) กลุ่มแกนนำชุมชน 3) กลุ่มคนในชุมขน และ 4) กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งหมดจำนวน  400 คน ผลการศึกษาพบว่า จากการสังเกต และสัมภาษณ์ด้านภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพื้นที่เขตเมืองเก่าฝั่งธนบุรี แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ                 1) ด้านสภาพแวดล้อมและบริบทพื้นที่ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ  (1) ด้านความปลอดภัย  (2) ด้านความสะอาด  (3) ด้านสถานที่ธรรมชาติสวยงาม และ (4) ด้านการคมนาคม   2) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  จำแนกออกเป็น 4 ด้าน  คือ (1) ด้านชาติพันธุ์  (2) ด้านการละเล่น/การแสดงท้องถิ่น        (3) ด้านอาหาร  และ 4) ด้านขนมธรรมเนียมประเพณี 3) ด้านความเป็นกัลยาณมิตรและความมีน้ำใจของคนในชุมชน จำแนกออกเป็น  2  ด้าน  คือ (1) การมีจิตใจเมตตาต่อผู้มาเยือน  (2) การสร้าง         มนุษยสัมพันธ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยว และ 4) ด้านการบริการนักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ          (1) การอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว (2) ที่พักในแหล่งท่องเที่ยว (3) ร้านอาหารและจุดจำหน่ายสินค้า และ (4) กิจกรรมการท่องเที่ยว  จากการเปิดเวทีประชาคมพบว่ามีแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรี แบ่งออกเป็น 5 แนวทาง ประกอบด้วย       1) การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 2) การพัฒนาชุมชนให้ปลอดภัย สะอาด   และเป็นชุมชนน่าอยู่  3) การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของชุมชนบนความ หลากหลายทางวัฒนธรรม 4) การสร้างชุมชนแห่งการบริการที่มีคุณภาพ และ 5) การจัดการ    ด้านการคมนาคมอย่างเป็นระบบ  ซึ่งแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นับเป็นแนวทางที่จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์เมืองเก่าฝั่งธนบุรีได้รับการพัฒนา นำไปสู่เป้าหมายการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในพื้นที่ เกิดเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน บนฐานการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นจุดขายที่สำคัญ เป็นการท่องเที่ยวที่ควบคู่ไปกับการดำรงรักษารากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่นในธำรงอยู่ยั่งยืน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2540). การพัฒนาการท่องเที่ยวเรื่องกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์.กรุงเทพมหานคร : มปท

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2541). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบล. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2559). เปิดแผนการตลาดท่องเที่ยวปี 2560. ค้นเมื่อ 4 กันยายน 2566, จาก http://www.triptravelgang.com/public-relations/28657.

สำนักงานการท่องเที่ยว. (2546). การพัฒนาการท่องเที่ยวเรื่องกลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร : มปท.

ฤดี หลิมไพโรจน์ และไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2555). ศึกษาเรื่องอิทธิพลของภาพลักษณ์และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวที่จังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2566, จาก http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID =RDG5550047.

อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์. (2540). ทิศทางการตลาดท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

อารยา วรรณประเสริฐ. (2542). ภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Adamsson. (1986). “The University as Bureaucracy”. In System of Political Control and Bureaucracy in Human Society. Seattle : The University of Washington.

Chi, C. G. Q., & Qu, H. (2007). Examining the structural relationships of destination image, tourist satisfaction and destination loyalty: An integrated approach. Tourism Management, 29(4), pp.624-636.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (10 th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28 — Updated on 2024-07-05

Versions