This is an outdated version published on 2023-12-26. Read the most recent version.

แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยา

ผู้แต่ง

  • ธงไชย ชื่นกิ่งแก้ว กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการ คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี
  • ดร. วิลาสินี ยนต์วิกัย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี

คำสำคัญ:

ร้านขายยา, ภาพลักษณ์ร้านขายยา , คุณภาพการบริการและการตลาดบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและภาพลักษณ์ของร้านขายยาในปัจจุบันและ 2. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก  (In-depth Interview) เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง 20 คน ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลร้านขายยา 1 คน องค์กรอิสระที่ใกล้ชิดกับร้านขายยา 2 คน เภสัชกรเจ้าของร้านยา 1 คน เภสัชกรปฏิบัติงานที่ทำงานในร้านขายยา 1 คน ผู้ทำงานใกล้ชิดกับร้านยา 5 คน ผู้ใช้บริการร้านยา 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะภาพความคิดแรกของร้านขายยามี 2 ลักษณะ คือ เป็นร้านยารูปแบบเก่า มีเป็นร้านทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีความพิเศษ และร้านยารูปแบบปัจจุบันที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้า มีการให้บริการโดยเภสัชกร ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่คิดว่า ร้านยาควรมีการพัฒนาให้ดีขึ้น และ 2) ได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการและการตลาดการบริการเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ร้านขายยาโดยใช้  PREP Concept ดังนี้  P (Professional Pharmacist Process) ขั้นตอนการให้บริการทางวิชาชีพเภสัชกรที่ร้านยาให้บริการแสดงออกถึงความเป็นมืออาชีพที่จะสร้างความเชื่อมั่นความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เข้ารับบริการร้านขายยาที่เป็นมาตรฐานสม่ำเสมอเหมาะสม R (Reachable) ร้านยาต้องเข้าถึงได้ง่ายเพื่อเชื่อมต่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในเชิงการสื่อสารทางการตลาดและการเข้าใช้บริการ E (Empathy Engagement) ร้านยาต้องแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจลูกค้าและให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรักษา P (Physical Evidence) ร้านยามีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีเพื่อสร้างประสบการณ์ความประทับใจสร้างคุณค่า

References

ปาริชาติ แก้วอ่อน. (2555). ร้านยาที่ได้รับการรับรองจากสภาพเภสัชกรรมและร้านยาแผนปัจจุบันทั่วไปมีคุณภาพแตกต่างกันหรือไม่. วารสารเภสัชกรรมไทย.4(2), น.41-58.

พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). ภาพพจน์กับการประชาสัมพันธ์.กรุงเทพมหานคร: คณะวารสาร ศาสตร์ และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล . (2556). กลยุทธ์การตลาดค้าปลีกสำหรับธุรกิจร้านยาของประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์.4(2),น.1-9.

พลวุฒิ สงสกุล. (2564). ถึงเวลายอมรับความจริงวิกฤตผู้ป่วยโควิด-19 ล้นเตียงเต็มเรามาถึงจุดที่คนไทยต้องนอนป่วยรอความตายอยู่ในบ้าน.ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566,จาก The Standard: https://thestandard.co/covid-19-crisis-is-overflowing-beds-are-full/

ไพศาล ฤทธิกุล. (2560). กลยุทธ์การจัดการภาพลักษณ์องค์กรเพื่อพัฒนาธุรกิจบริการ.วารสารปัญญาภิวัฒน์. 9(1), น.265-272.

ภัณฑิรา ปริญญารักษ์. (2563). การสำรวจความคาดหวังของผู้รับบริการต่อสมรรถนะของเภสัชกรชุมชน. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 14(2), น.67-80

ภัทรา เกษรจันทร์. (2559). กลยุทธ์การตลาดของผู้ประกอบการร้านขายยา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารนวัตกรรมและการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(1), น.52-61.

ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2550). การสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาต่ออุปสรรคการเข้าร่วมโครงการร้านยาคุณภาพ. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์. 21(1), น.43-52.

ระพีพรรณ ฉลองสุข. (2556). เภสัชกรรมปฐมภูมิ. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์. 8(2), น.81-96.

วัลยา สุนทรา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 8Ps กับพฤติกรรมหลังการใช้บริการร้านยาของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดศรีษะเกษ. วารสารการบริหารและ สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5(4), น.98-107.

วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์. (2563). โอกาสและการพัฒนาสำหรับธุรกิจร้านยาหลังการระบาดจากเชื้อไวรัสโค โรนาสายพันธ์ใหม่ 2019. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์.15(2), น.95-107.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2558). แนวทางการจัดการสู่วิธีปฎิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน. นนทบุรี : สำนักยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

สำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพสภาเภสัชกรรม. (2559). ความเป็นมาของร้านยาคุณภาพ. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566, จากpharmacycouncil: https://papc.pharmacycouncil.org/index.php?option=aboutus&subpage=history

อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย. (2550). ความคิดเห็นของผู้มารับบริการที่มีต่องานบริการของร้านยาคุณภาพในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์. 21(1), น.55-66.

Worasak Klongthong. (2020). Determination of Factors in Cultural Dimensions and SERVQUAL Model Affting the Corporate Image of Pharmacy Retail Store. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 7(10), pp.875-884.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

Versions