กระบวนการสร้างและพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อยกระดับ เมนูภูมิปัญญาอาหารไทยเพื่อการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นพวรรณ วิเศษสินธุ์ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ภูธร กอดแก้ว สาขาวิชาการจัดการงานบริการสถานพยาบาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

พันธมิตรทางธุรกิจ, ภูมิปัญญาอาหารไทย, การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อยกระดับเมนูภูมิปัญญาอาหารไทยเพื่อการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นการการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม ด้วยการบูรณาการวิธีการต่างๆ โดยมีประชากร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย เป็นกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร อำเภอพระสมุทรเจดีย์จังหวัดสมุทรปราการ (2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (3) กลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (4) กลุ่มผู้บริโภคอาหารสุขภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์ การสนทนาลุ่ม การประชุมระดมสมอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1) กระบวนการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อยกระดับเมนูภูมิปัญญาอาหารไทยเพื่อการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเริ่มจากรูปแบบที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบเบื้องต้น แล้วจึงนำมาประชุมระดับสมองกับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในด้านการสร้างพันธมิตร เพื่อให้ได้รูปแบบในขั้นกลาง และจึงนำมาประชุมระดมสมองร่วมกับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจมาร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมหรือรูปแบบพันธมิตรขั้นสุดท้ายมีการ 2) การพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจ จากกระบวนการที่นักวิจัยได้ออกแบบขึ้นมาและนำมาสู่การปฏิบัติ มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ได้เมนูภูมิปัญญาอาหารไทย และการพัฒนาปรับปรุงเมนู มีการนำภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยมาพัฒนาเมนูอาหารไทย สู่การยกระดับการทำอาหารในท้องถิ่น การศึกษาวิจัยนี้ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่นำร่องเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทำอาหารเพื่อสุขภาพของชุมชนร่วมกันเป็นพันธมิตรแบบพลวัตในวิวัฒนาการแห่งโลกปัจจุบัน

References

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และ สุมนา จันทราช. (2562). การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจากการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจของธุรกิจการกีฬาในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 14 (1), น. 90-103.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงอุตสาหกรรม.

ณีรนุช กล่อมดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารพันธมิตรทางธุรกิจอย่างยั่งยืนของสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดวงพร พุทธพงศ์ (2561) ความสำเร็จของการพัฒนาระบบเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็กของผู้ประกอบธุรกิจและผลการวิจัยพบว่าเสื้อผ้าแฟชั่นที่ว่าปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นขนาดเล็ก. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 7 (ฉบับพิเศษ), น. 18-31.

ปรรัตน์ ศุภมิตรโยธิน. (2556). อาหารและโภชนาการ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ประกายดาว ดีปาละ. (2561). กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้ Grab Application ของผู้ที่ใช้ในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยฉัตร สุดีวรรณ และคณะ. (2564). การพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30(3), น. 414-426.

พรวดี รักษาศรี. (2562). อิทธิพลพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดการโซ่อุปทาน และผลการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศรีสมร คงพันธุ์. (2561). กินตามธาตุ อาหารจากผักพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร : ส.ส.ส.ส.

สัสดี กำแพงดี, ชมพูนุท ศรีพงษ์, กนกวรรณ กาญจนธานี และ ปิยะดา มณีนิล. (2562). รายงานวิจัย เรื่องรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างวิสาหกิจชุมชน ของแม่บ้านทหารบกในจังหวัดชายแดนภาคใต้. ยะลา :วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวนปี 2564. สมุทรปราการ : สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ

เหมือนแพร รัตนศิริ. (2561). โภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 11(2), น. 221-228.

อบเชย วงศ์ทอง. (2541). โภชนาศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lamba Harchitwan Kaur, Dhir Sanjay and Ongsakul Viput. (2022). Analysis of strategic motives for formation of alliances using total interpretive structural modeling. Journal for International Business and Entrepreneurship Development, 14(1), pp.21–47.

Strašek Aleksander, Pušavec Franci, and Borut Lika. (2020). Open innovation and business performance improvement in strategic business alliances. Journal of Contemporary Management Issues. 25 (1), pp. 133-144.

Xu Ke, Fang Lin and Liang Yuxuan. (2021). A Literature Review of Factors Influencing the Motivation and Stability of Strategic Alliances--Based on the Research Perspective of Endogenous Factors of Companies. 2021 International Conference on Global Business and Management Science (GBMS 2021). (pp. 143-152). Kunming : China.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-18 — Updated on 2023-08-18