This is an outdated version published on 2023-12-26. Read the most recent version.

แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของชุมชนเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ แดงเจริญ สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • เพ็ญนภา หวังที่ชอบ สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สุภลัคน์ จงรักษ์ สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พัฒนา, ส่งเสริมการท่องเที่ยว , ต้นทุน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการให้บริการโฮมสเตย์ การจัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยว  2)  พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารออนไลน์  และ 3) พัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้านการจัดทำบัญชี ระบบบัญชีโดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท้ายเกาะ ตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานกลุ่ม สมาชิกภายในกลุ่ม  และผู้จัดทำบัญชี เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเป็นลักษณะคำถามปลายเปิด (Open-ended Question) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การให้บริการโฮมสเตย์ การจัดกิจกรรมและเส้นทางท่องเที่ยว มีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพื้นที่นั้น และการส่งเสริมการพัฒนาที่พักประเภทโฮมสเตย์ ยังไม่มีนโยบายในการส่งเสริมในการพัฒนาที่พักแรมประเภทโฮมสเตย์ 2) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารออนไลน์ ยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ 3) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ด้านการจัดทำบัญชี ระบบบัญชี การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน จะใช้วิธีกะประมาณ ไม่มีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน มีความสามารถในงานบัญชีเล็กน้อย การวิเคราะห์ต้นทุนปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมตามหลักการบัญชีต้นทุน

References

กิตติตุณ วงษ์จ้อย. (2558). การบริหารจัดการที่พักนักท่องเที่ยวในลักษณะวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3. (พ.ศ. 2566 – 2570).ค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2566,จากhttps://drive.google.com/file/d/12-qp4UFjmLAkks2_UW3ux2SB8bh_Umpg/view.

ณัฏฐ์พล จงพิทักษ์สกุล และดวงรัตน์ โพธิ์เงิน. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มบ้านคลองทราย ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(5), น. 147-152

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2550). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพมหานคร : ส.เอเซียเพสร (1989) จำกัด.

พิมพ์พิศา จันทร์มณี (2562). รายงานการวิจัย เรื่องแนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวของ ชุมชน วอแก้ว อำเภอ ห้างฉัตร จังหวัดลำปาง.ลำปาง : วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

ศศิวิมล มีอำพล. (2550). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อินโฟโมนิ่ง จำกัด.

ศิริรัตน์ เซ็งเส็ง และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชม : อาหารและสมุนไพร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์.(น. 622-629) กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Bhan, S. (2014). Homestay tourism in India:Opportunities and challenges. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure. 3(2), pp. 13-15.

Hermann, Denise Louise. (2002).Understanding the Formation of Community in a New School A Case Study of River Bluff High School.Dissertation Abstracts International.63(6) :p.2111-A.

Jamaludin, M., Othman, N. & AwangA.R.(2012). Community Based Homestay Programme:A Personal Experience. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 42, pp. 451-459.

Maya, Negev & Gonen Sagy. (2008). Evaluating the Environmental Literacy of Israeli Elementary and High School Students.Dissertation Abstracts International. 6(4),pp. 7-9.

Mohamed, Mohamed A. (1996).Community-based Resource Management: Constraints and Potentials a Kenyan Case Study.Masters Abstracts International. 34(1),p. 156.

Palmer, A. &NealJ.K.(1990).Environmental Education in the Primary School. Oxford: Basil Blackwell.

Ronningen, M. (2010). Innovation in the Norwegian rural tourism industry:Results from a Norwegian survey.The Open Social Science Journal. 3(2), pp. 15-29.

Yahaya Ibrahim. (2004). Homestay Program in Malaysia :Development and Prospect. Asian Journal on Hospitality and Tourism. 3(1), pp. 65-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

Versions