การศึกษาวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของมนุษย์ในวัฒนธรรมบ้านเก่าจากศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาวังกุลา ตำบลช่องสะเดาอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ทองศรี สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

วิถีชีวิต, ภูมิปัญญา, มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์, ถ้ำเขาวังกุลา, ภาพเขียนสี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาวิถีชีวิตของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์เขาวังกุลา ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2.เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติประเภทสัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติด้านการกสิกรรมที่ปรากฏในภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งศิลปะถ้ำเขา วังกุลา ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 3.ศึกษาวิธีการเขียนภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในภาพเขียนสีแหล่งศิลปะถ้ำเขาวังกุลา ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทลายลักษณ์อักษร โดยผู้วิจัยใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานที่เป็นเอกสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ 2) แบบบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้เก็บข้อมูลภาพเขียนสีแหล่งศิลปะถ้ำเขาวังกุลา ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สรุปผลการวิจัยดังนี้ 1) วิถีชีวิตของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในภาพเขียนสีแหล่งศิลปะถ้ำเขาวังกุลา ปรากฏวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมนายพราน (Hunting and Gathering Society) และวิถีชีวิตมนุษย์ในสังคมกสิกรรม (Agricultural Society) 2) ภูมิปัญญาที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่ปรากฏในภาพเขียนสีของแหล่งศิลปะถ้ำเขาวังกุลา มีดังนี้ ภูมิปัญญาการใช้เครื่องมือโลหะล่าสัตว์ ภูมิปัญญาการแปรรูปอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ภูมิปัญญาการใช้แรงงานจากสัตว์ 3) วิธีการเขียนภาพเขียนสีที่ปรากฏในภาพเขียนสีของแหล่งศิลปะถ้ำเขาวังกุลามี 2 วิธี ได้แก่ การถมสีเงาทึบ (silhouette) และการวาดเส้นโครงร่างภายนอก (outline painting)

References

กรมศิลปากร. (2544). เปิดประตูผาค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด.

กรมศิลปากร. (2565). วัฒนธรรมบ้านเก่า. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน).

เกรียงไกร ทองศรี. (2566). การศึกษาวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของมนุษย์ในวัฒนธรรมบ้านเก่าจากศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขาวังกุลา. กาญจนบุรี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ชัยนันท์ บุษยรัตน์. (2554). การสำรวจแหล่งภาพเขียนสีบนผนังหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขาวังกุลา. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จากhttps://www.finearts.go.th/storage/contents/detail_file/V0lb6b3DMgfi7LoOTpSyNnNTEcWL5ccT5Vnxouey.pdf.

ชิน อยู่ดี. (2510). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในไทย. กรุงเทพมหานคร : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (2542). การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นพวัฒน์ สมพื้น. (2545). สีเขียนภาพผนังถ้ำยุคโบราณในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ.พี. กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

บังอร กรโกวิท. (2519). ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อำเภอบ้านผือ. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2558). การจำแนกจากลวดลายบนหน้ากลองมโหระทึกแบบ HEGER I ใน ประเทศไทย การศึกษาเฉพาะบุคคลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริวรรษ เจียมจิตต์. (2561). การตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชีตอนบน ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี ภาควิชาโบราณคดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พเยาว์ เข็มนาค. (2539). ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.

พัฒน์รพี ขันธกาญจน์. (2522). ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรวดี กุลแก้ว. (2525). ภาพเขียนสีที่โขงเจียมกับชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในภาคอีสาน. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณดี สุทธินรากร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : สยามปริทัศน์.

สุพจน์ บรรเทิง. (2522). สัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยที่ปรากฏในภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรพล นาถะพินธุ. (2557). โบราณวิทยาเรื่องโลหะสำริดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย. วารสารดำรงวิชาการ. 13(1), 123.

อัญชลี สินธุสอน และพรพรรณ หงสไกร. (2552). คนก่อนประวัติศาสตร์ บนดินแดนไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24 — Updated on 2023-08-18