การพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ผู้ประกอบการ, อาหารสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุในชุมชน 4 เขตอนุรักษาเมืองเก่าฝั่งธนบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการในการพัฒนาอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ พฤติกรรมและความต้องการบริโภคอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ พัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ ให้ความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์และออกแบบตราสัญลักษณ์อาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ หลังจากนั้นให้ผู้เข้าอบรมทดลองประกอบอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุจําหน่ายในชุมชน และประเมินผลการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจ แบบสอบถาม และแบบประเมิน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการด้านอาหาร ส่วนใหญ่ไม่มีเมนูอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 84.40 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการให้ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพโดยจัดให้มีแหล่งจําหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย คิดเป็นร้อยละ 71.60 ผู้ประกอบการมีความรู้ ความเข้าใจต้อการอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด ในด้านการจัดเมนูอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ การประกอบอาหารสําหรับผู้สูงอายุ และการเลือกวัตถุดิบสําหรับผู้สูงอายุ ตามลําดับ และหลังจากการเข้ารับการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ประกอบการนําเทคนิคการประกอบอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุมาพัฒนาต้อยอดได้ และได้ใช้ตราสัญลักษณ์อาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุ และสามารถนําเสนอเมนูอาหารสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุสู่ตลาด
References
กมลจรัส กองรักษเวช. (2558). แผนธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ Oldies Food การประเมินความเป็นไปได้ของโครงการธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ Oldies Food ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). 5 ข้อควรรู้จัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก https://multimedia.anamai. moph.go.th/infographics/info_food4elderly.
ธัญมัย ธรรมคุปต์. (2559). ศึกษาตลาด SME อาหารที่รองรับกับผู้สูงอายุชาวไทยเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพมหานคร : วี อินเตอร์พริ้นท์.
เนตรนภิส วัฒนสุชาติ, ชุษณา เมฆโหรา, อุษาพร ภูคัสมาส และสมจิต อ่อนเหม. (2561). รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาอาหารปรับเนื้อสัมผัสที่เป็นชุดสำรับเพื่อสุขภาพตามมาตรฐาน Universal Design Food /Smile Care Food และ National Dysphasia Diet สำหรับผู้ที่มีปัญหาการบดเคี้ยวและการกลืนอาหาร. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิธิยา เพชรหยอย. (2561). กลยุทธ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อสุขภาพกรณีศึกษาร้านโพเมโล่ โฮม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2557). รายงานผลเบื้องต้น การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/ประชากรและสังคม/ประชากรสูงอายุ.
อุไร เชื่อมไธสง. (2557). ต้นแบบการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุสุขภาพดีในจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. (2nd ed.) New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว