การพัฒนาผลการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบลิงก์ลิสต์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ, เทคนิคSTAD, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบลิงก์ลิสต์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิคSTAD2)ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนโดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิคSTADกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล ที่เรียนรายวิชาโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมเพื่องานธุรกิจ ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2565ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)จำนวน 23 คนเครื่องมือการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบลิงก์ลิสต์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดตัวอย่างแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed-Ranks test ผลการศึกษาพบว่า1)ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิคSTADมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.001และ2)ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิคSTADเรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบลิงก์ลิสต์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ.(2542). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2564). นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณพ.ศ.2564-2565. ค้นเมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.moe.go.th.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : วี อินเตอร์พริ้น.

นันท์ณัฐ ค้อชากุล, ชาติชายม่วงปฐม,และเอกราชดีนาง. (2564). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 9(1), น. 89-109.

เนตรนภา สาแก้ว, ชนะชัย อวนวัง และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16(3), น. 117-130.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : สุรีวิยาสาส์น.

ปิยะ ไล้หลีกพาล. (2563). ปัญหาและโอกาสของการสอนออนไลน์ ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19 กรณีศึกษา การสอนแบบบรรยาย วิชา IND143 ประวัติศิลปะการตกแต่งตะวันตก.ใน รายงานประชุมวิชาการ SPU EDUCATIONAL TRANSFORMATION TO THE NEW NORMAL, (น.483-492). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศุภณัฐ หัตถนิรันต์ และอรัญ ซุยกระเดือน. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการเมืองการปกครอง ของไทยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 17(1), น. 77-88.

Johnson, David W., Johnson, Roger T. and Holubec, Edythe Johnson. (1993). Circles of Learning : Cooperation in the Classroom. (6th ed). Minesota : Interaction Book.

Slavin, R. E. (1987). Cooperative learning and cooperative school. Educational Leadership. 45(3), pp. 7-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24