การพัฒนาตราสินค้าร่วมผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • อัปสร อีซอ สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นันทรัตน์ นามบุรี สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • อุษณีย์ พรหมศรียา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ย่าร่อนะ ศรีอาหมัด สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • อนัน วาโซ๊ะ Bingo Visual Studio

คำสำคัญ:

ตราสินค้าร่วม, เตยหนาม, กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสาน, จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตราสินค้าร่วมผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสาน จังหวัดยะลา ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มเป้าหมายวิจัย ได้แก่ ประธาน 4 ธุรกิจชุมชนของกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา ผู้เชี่ยวชาญด้านงานออกแบบตราสินค้า รวมถึงลูกค้าซี่งเป็นผู้ที่เคยซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์งานจักสาน ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มและการปฏิบัติการพัฒนา จะถูกนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และเขียนพรรณนาเชิงเหตุผล ส่วนข้อมูลจากแบบสอบถาม ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป หาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาตราสินค้าร่วมผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา ได้ชื่อตราสินค้าร่วม “SAN-JAI-YALA” มีสัญลักษณ์ตราสินค้าเป็นภาพหัวใจที่จักสาน พร้อมกับตัวอักษร SAN-JAI-YALA โทนสีที่เลือกใช้ได้แก่สีแดงและสีเขียว โดยสีแดง สื่อถึงหัวใจ ส่วนสีเขียว สื่อสารถึงความเป็นธรรมชาติหรือสีของเตยหนาม ทั้งนี้ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสัญลักษณ์ตราสินค้าร่วมกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา แบบที่ 3 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.25

References

จงเพ็ชน์ จันทร์ลา. (2563). ความไว้วางใจกับความสำเร็จของคลัสเตอร์ด้านการแปรรูปอาหาร : กรณี ศึกษาตำบลท่าสุด จังหวัดเชียงราย. วารสารพัฒนาสังคม, 22(2), น. 126-146.

นิชาวดี ตานีเห็ง. (2562). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามสู่การแข่งชันเชิงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนพงบูโล๊ะ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ปวีณา เจะอารง, ชรีฮาน ยีแว, มีนา ระเด่นอาหมัด, กัลยรัตน์ พินิจจันทร์, รอมลี เจะดอเลาะ และอิมรอน มีชัย. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามป่ากลุ่มบุหงาปืองาเต็ง อําเภอยะหา จังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ: วิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2, (น. 1-8). 15-16 สิงหาคม 2562. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

รอปิยะ เย๊าะลีมา. (2565, 5 กุมภาพันธ์), สัมภาษณ์. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา.

อัปสร อีซอ. (2556). การตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลและผลิตภัณฑ์ชุมชน. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

E-sor, A., Rattanapipatb, S., Waranantakul, W., Waranantakul, O., & Taemasae, R. (2019). The Logo Design for Processed Pandanus Products Santiparp Wangphaya Housewife Group, Yala Province, Thailand. The 3rd International Research Conference on Management, Leadership, (p. 158-166). 14 June 2019. Social Sciences : Seoul.

Buzan, T. (2018). Mind map mastery: The complete guide to learning and using the most powerful thinking tool in the Universe. United Kingdom : Watkins Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24 — Updated on 2023-08-18

Versions