การใช้กิจกรรมทักษะสมอง (Executive Functions : EF) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ของเด็กปฐมวัยในสถานการณ์แบบ นิวนอร์มัล (New Normal) : กรณีโรคอุบัติใหม่เชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้แต่ง

  • โชติรส สุทธิประเสริฐ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นิวร์นอมัล, โควิด-19, ทักษะสมอง, ทักษะชีวิต, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย และศึกษาผลของการใช้กิจกรรมทักษะสมองทั้งหมด 3 ด้านได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และด้านการตระหนักรู้ในตน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็น เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 5-6 ปีกําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดสวนส้ม (สุขประชานุกูล) จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 2 ห้องเรียน นำมาจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 19 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 17 คน รวมทั้งหมด 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย และ แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที พบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีความเหมาะสมสำหรับนำไปส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยได้ 2) หลังการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทักษะชีวิตโดยรวมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ก่อนการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทักษะชีวิตของกลุ่มทดลองทั้ง 3 ด้านต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังการจัดกิจกรรมทักษะสมองเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทักษะชีวิตของกลุ่มทดลองทั้ง 3 ด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กมลวรรณ ศรีสําราญ และอรพรรณ บุตรกตัญ. (2562). ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารจันทรเกษมสาร. (25)2, น.33-47.

กันตวรรณ มีสมสาร และกัญจนา ศิลปกิจยาน. (2561). การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(1). น.171-178.

จริยา สันตานนท์. (2553). การพัฒนาสัมพันธภาพทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรม การวาดภาพต่อเติมจากภาพปะติดเป็นกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การใช้แบบประเมินพัฒนากาด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข : กระทรวงสาธารณสุข.

บดินทร์ ชาตะเวที. (2564). พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่ : New Normal. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก http://www.ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้EF. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ราชบัณฑิตบัญญัติ “นิวนอร์มอล”-“ความปกติใหม่” .(2563,14 พฤษภาคม). ไทยรัฐออนไลน์. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/1843766.

วรรธนา นันตาเขียน กุลภัสสรณ์ ตั้งศิริวัฒนากุล และสุกัลยา สุเฌอ. (2560). ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในยุคประเทศไทย 4.0. ค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565, จาก https://opac1.lib.buu.ac.th/medias3/eduso13n1p7-18.pdf.

วิไล กลิ่นถาวร. (2563). ผลการใช้หนังสือนิทานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(3), น.93-105.

ศักดิ์ชัย ใจซื่อตรง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะที่ส่งเสริมทักษะการจัดการสมอง (EF) สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2564). แรงงานความรู้สู้โควิด. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566, จาก http://www.tosh.or.th/covid19/index.php/new-normal.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). พหุปัญญาบนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับเด็กอนุบาล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

อัญชลี คล้ายขําปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร และชลาธิป สมาหิโต. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอกพจน์ สืบญาติ. (2560). การสร้างทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=284.

Diamond, A., & Lee, K. (2011). Interventions shown to Aid Executive Function Development in Children 4-12 Years Old. Retrived September 15, 2022, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3159917/.

Fox, L., Hammer, M.L., Snyder, P., Binder, D.P., & Clarke, S. (2011). Coaching Early Childhood Special Educators to Implement a Comprehensive Model for Promoting Young Children’s Social Competence. SAGE Journals. 31(3), p.131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-24 — Updated on 2023-08-18