รูปแบบการลดปัญหาหนี้สินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา กันนุช หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การลดปัญหาหนี้สิน , บัญชีครัวเรือน, แรงงานนอกระบบ , เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการลดปัญหาหนี้สินตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มแรงงานนอกระบบ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อวิเคราะห์ปัจจัยสภาพการเป็นหนี้ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ 2) เพื่อออกแบบระบบบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของกลุ่มแรงงานนอกระบบ 3)  เพื่อถ่ายทอดกระบวนการบันทึกบัญชีครัวเรือนแก่กลุ่มแรงงานนอกระบบ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการลดปัญหาหนี้สินของกลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มแรงงานนอกระบบ หมู่บ้านโนนบก ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก  จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์   ผลการวิจัย พบว่า  1) ปัจจัยสภาพการเป็นหนี้สิน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน แบ่งเป็นชาย 14  คน หญิง 16 คน ลักษณะการประกอบการชีพ เป็นการค้าขายรายได้เฉลี่ยวันละ 1,000 บาท เกษตรกรทำนา เฉลี่ยรายได้ต่อปี 50,000 – 60,000 บาท และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยวันละ 300 – 1,000 บาท ลักษณะของรายได้ เป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน จึงทำให้เกิดการกู้เงินทั้งในระบบและนอกระบบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้สินมาจากรายได้ไม่พอใช้ มีรายจ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายเพื่อการประกอบอาชีพ และมีหลายครอบครัวที่มีรายจ่ายฟุ่มเฟือย  2) กลุ่มแรงงานนอกระบบมีความรู้ในเรื่องบัญชีครัวเรือน แต่ไม่มีการจัดทำบัญชี มีความรู้ว่ารายรับคืออะไร รายจ่ายคืออะไร แต่แยกประเภทของรายจ่ายไม่ได้ มีความรู้ในเรื่องการออม แต่ไม่มีการปฏิบัติ สำหรับแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้น้อยมากในหลักการ เคยได้ยินถึงแนวคิดแต่ไม่เข้าใจ และไม่ได้นำแนวทางมาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน 3) การถ่ายทอดกระบวนการบันทึกบัญชี โดยการอบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้มอบหมายให้กลุ่มแรงงานนอกระบบลงบัญชีครัวเรือนเป็นเวลา 3 เดือน โดยผู้วิจัยทำการติดตามและร่วมประเมินผลการจัดทำบัญชี 4) รูปแบบการลดปัญหาหนี้สิน พบว่ามีความสนใจแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อยดำโดยมีความต้องการทำให้เป็นวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มจากปลูกอ้อยในพื้นที่ เมื่อได้ผลผลิตจึงนำมาแปรรูปเป็นน้ำอ้อยและขนมจากอ้อยดำ นอกจากนี้ทางกลุ่มต้องการลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยหรือยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรจึงทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองในครัวเรือน

References

เกศสุดา สิทธิสันติกุล. (2562). โอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 62(4), น. 61-70.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2561). โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานนอกระบบเพื่อการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบที่ดีอย่างประสิทธิภาพ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

กฤตกร จินดาวัฒน. (2555). ปัญหาหนี้นอกระบบและแนวทางแก้ไขโดยภาครัฐ. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/5210223.

กาจน์ กอรี. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเกษตรเพื่อนำไปสู่การลดภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรกรณีศึกษา บ้านจู้ด ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง.วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2558). การแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ของท้องถิ่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 9(2), น. 54-61.

พิมพ์รัก พุ่มเจริญ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเกษตรกร. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรบัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมลพรรณ บุญยะเสนา และสุขุม พันธุ์ณรงค์. (2563). การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของแรงงานนอกระบบ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 63(1), น. 101-118.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2556). งานวิจัยเรื่องบัญชีครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชีวิตที่เพียงพอ (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

สัญญา เนียมเปรม. (2562). การจัดทำบัญชีครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร บ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 62(1), น. 48-56.

Alexandra Zins & Laurent Weill. (2016). The determinants of financial inclusion in Africa. Review of Development Finance. 6(2016), pp. 46-57. Retrieved July 16, 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1879933716300549.

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Originally Published in Psychological Review. 50, pp. 370-396. Retrieved July 16, 2023, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1879933716300549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26