การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พรรษพล คำไล้ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • รัสรินทร์ พัฒนเมธีวิชญ์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์ มหวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนารถ
  • ชัยสิทธิ์ ทับทิมทอง ภาควิชาพื้นฐานและพลศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ธนรัตน์ ทรงสมบูรณ์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฐิตาภัทร์ รัศมี วชิราวุธวิทยาลัย
  • มสารัศม์ ตันติดีเลิศ สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวโดยชุมชน , การมีส่วนร่วม , การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 2) จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research- PAR) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน จำนวน 5 คน และนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน โดยใช้เทคนิคการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านคลองโยง มีจุดแข็งคือ สภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนมีความเข้มแข็งทางด้านอาชีพเกษตรกรรม ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนหลากหลาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา อีกทั้งมีหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนซึ่งมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของแหล่งการท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ 2) การจัดทำเส้นท่องเที่ยวชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมโดยผูกโยงกิจกรรมท่องเที่ยวในพื้นที่บ้านคลองโยง ซึ่งเป็นการจัดเส้นทางรูปแบบหนึ่งวัน (One Day Trip) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อเส้นทางท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67) และจากการอภิปรายกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างมีความเห็นตรงกันว่าการบูรณาการทั้ง 3 ศาสตร์ (นันทนาการ ท่องเที่ยวและกีฬา) เข้าด้วยกันนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและสื่อถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนและให้ขยายผลต่อไปยังพื้นที่อื่นด้วย

References

กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.mots.go.th/download/Research/ProjectToPromoteSustainableTourism.pdf

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์. 15 (1), น. 25-37.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วชิรญา ตติยนันทกุล. (2562). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองโสน หมู่ที่ 8 ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38 (5). 12-25.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์, กฤษณา สุวรรณภักดี, พรพรรณ ปริญญาธนกุล, วลีพร ธนานิคม และพรทิพย์ นุกูลวุฒิโอกาส. (2548). การวางแผนกลยุทธ์: ศิลปะการกำหนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.

วิภาภรณ์ เครือจันทร์. (2563). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนป่าชายเลนแห่งหนึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุนิดา เพ็งลี และมณฑล สรไกรกิติกูล. (2560). การพัฒนาแผนการรักษาพนักงานแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. 9 (1), น. 59-69.

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการท่องเที่ยว: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แสงสรรค์ ภูมิสถาน, นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์, สมหมาย อุดมวิทิต, ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี และภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2559). คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 1/2566. นครปฐม : องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measure for project design implementation and evaluation. New York: Cornell University Press.

Spradley, J. P. (1979). The Ethnographic Interview. New York: Holt, Rinehart and Winston, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26 — Updated on 2024-06-28

Versions