ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืน , ความสำเร็จ, กิจการเพื่อสังคมบทคัดย่อ
จากการศึกษา และสังเคราะห์เอกสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก คือ 1) นวัตกรรม (Innovation) นักวิจัยหลายท่านได้ให้ความเห็นว่านวัตกรรมเป็นศูนย์กลางของกระบวนการของกิจการเพื่อสังคม โดยใช้กระบวนการค้นหา การประเมิน การทดลอง แนวคิดใหม่ๆ และกระบวนการสร้างสรรค์ที่อาจส่งผลในผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่สะท้อนให้เห็นในนวัตกรรมของกิจการเพื่อสังคม 2) ความยืดหยุ่นของการพัฒนาองค์กร (Resilience Development) กิจการเพื่อสังคมที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมักมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสามารถในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ทันการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เป็นต้น 3) ปัจจัยภายในองค์กร (Internal Factors) ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันของภารกิจองค์กร (Mission) คุณลักษณะของผู้นำองค์กร (Leadership) โครงสร้างและทรัพยากรในองค์กร (Internal Architecture)
4) ปัจจัยภายนอกองค์กร (Ecosystem) อันประกอบด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access to Finance) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Access to Networks) และการสนับสนุนจากภาครัฐ (Government Support และ 5) คุณค่าขององค์กร (Value of the organization) ความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมขึ้นอยู่กับคุณค่าที่คุณค่าที่กิจการเพื่อสังคมนั้นสร้าง ซึ่งอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ ผลกำไรและคุณค่าทางเศรษฐกิจ (Profit and Economic Value) และคุณค่าทางสังคม (Social Value) ทั้ง 5 ปัจจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริมกิจการเพื่อสังคมให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
References
สุทธดา ขัตติยะ และณรงค์ ปูอมหลักทอง. (2562). กิจการเพื่อสังคมกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 1(1), น. 145–154.
สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์. (2560). กดด้วยใจ ใครๆ ก็ทำก็ได้. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wp-content/uploads/2017/11/2017_08_Lor-Chula_vol.17.pdf
สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ. (2554). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, https://www.osep.or.th
อารันดร์ อาชาพิลาส. (2556). SE พันธุ์แกร่ง..ที่โรงเรียนผู้ประกอบการทางสังคม. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, https://www.bangkokbiznews.com/business/505226
Desiana, P. M. , Ma’arif, M. S., Puspitawati, H., Rachmawati, R., Prijadi, R. & Najib, M. (2022). Strategy for Sustainability of Social Enterprise in Indonesia: A Structural Equation Modeling Approach. Sustainability (Switzerland). 14(3), pp. 1-19.
Kamaludin, M. F. , Xavier, J. A. & Amin, M. (2021). Social Entrepreneurship and Sustainability: A Conceptual Framework. Journal of Social Entrepreneurship. 18(2), pp. 344-363.
Ketprapakorn, N. & Kantabutra, S. (2019). Sustainable social enterprise model: Relationships and consequences. Sustainability (Switzerland). 11(14), pp. 1-39.
Neessen, P. C. M. , Voinea, C. L. & Dobber, E. (2021). Business models of social enterprises: Insight into key components and value creation. Sustainability (Switzerland). 13(22), pp. 1-22.
Pankansociety. (2560). ยอดร่วมปัน ปี 2560. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2565, https://pankansociety.com/report/income/2913
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-01 (3)
- 2024-03-29 (2)
- 2023-12-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว