ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรม ของบริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด , นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ , การตัดสินใจซื้อ , ตลับลูกปืนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) เพื่อทำนายปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อ ตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรม (3) เพื่อทำนายปัจจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์กับการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือฝ่ายจัดซื้อหรือผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้ทำการซื้อลูกปืนจาก บริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 375 โรงงาน ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคือ 200 โรงงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประมวลผลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สำเร็จรูป ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง 0.943 – 0.954 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent Sample t-test, One-Way ANOVA (F-test) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุการทำงาน และ ตำแหน่งหน้าที่ในองค์กร ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่มีอิทธิพลการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และ ด้านการออกแบบและการใช้งาน มีอิทธิพลกับการตัดสินใจซื้อตลับลูกปืนในโรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท สยาม แบริ่งอินเตอร์เทรด จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ชวลัน ธรินายางกูร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการบริหารและพัฒนา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต. 3(1-2), น. 106-114. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://so12.tcithaijo.org/index.php/pcbu/ article/download/114/ 124/132
บริษัท สยาม แบริ่ง อินเตอร์เทรด จำกัด. (2564). ข้อมูลเกี่ยวกับลูกปืน. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565. จาก https://sbi-bearing.com/%E0%B9%80.
ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ของประชาชนในจังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มยุรา ธรรมวัฒนากุล. (2565). อิทธิพลของนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 5(3), น. 85-99.
รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2553). การพัฒนาแบบจําลองเครือขายทางสังคมเพื่อเพิ่มผลผลิตงานวิจัยของอาจารยใน มหาวิทยาลัยวิจัยไทย. วารสารวิจัย สมาคมหองสมุดแหงประเทศไทยฯ. 8(1), น. 64.
โรจนศักดิ แสงธศิริวิไล. (2556). การนำนวัตกรรมการตลาดมาประยุกต์ใช้ทางธุรกิจ เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขัน. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2565 จาก https://dba3-rojanasak.blogspot.com/2013/09/2-3-type-of-innovation-ntrott-2005-p.html.
ศศิธร บุญชุม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อท่อไอเสียดัดแปลงสำหรับตกแต่งรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง กรณีศึกษาร้านหนึ่งโมดิฟาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์จำกัด.
อนวิทย์ พานิชนันทนกุล. (2561). กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจตลับลูกปืนอุตสาหกรรมในประเทศไทย กรณีศึกษา บริษัท พี.เอส.เอ็ม แบริ่งจำกัด. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
อรวรรณ บุญศรีกุล. (2563). ทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Yamane, T.. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper. & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว