การสร้างคุณค่าตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ประเภทอาหารแห้ง ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กรวิทย์ ต่ายกระทึก สาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สิทธิชัย ฝรั่งทอง สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • อรวรรณ ลีลาเกียรติวณิช สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างคุณค่าตราสินค้า, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, อาหารแห้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณค่าตราสินค้าและการสร้างรูปแบบคุณค่าตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นประเภทอาหารแห้งในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชนหรือตัวแทนชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเเบบเฉพาะเจาะจง และนักท่องเที่ยวที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.91 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมฝรั่งกุฎีจีน ตราธนูสิงห์ ชาใบหม่อน แขวงหิรัญรูจี ตรามุทิตา และขนมบดิน ตราป้าเล็ก มีองค์ประกอบของตราสินค้าอย่างชัดเจน ส่วนความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อคุณค่าตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารแห้ง พบว่า ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 3.99) ส่วนผลการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นตรงกันว่า การสร้างคุณค่าตราสินค้าผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารแห้งมีดังนี้ ด้านการรู้จักและจดจำตราสินค้า ด้านความภักดีต่อตราสินค้า ด้านความผูกพันกับตราสินค้า ด้านการรับรู้คุณภาพของสินค้าจากตราสินค้า และด้านสินทรัพย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตราสินค้า เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เป็นต้น

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.(พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พัชร พิลึก เชาว์ โรจนแสง และวุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2564). การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์คุณค่าตราสินค้าข้าวอินทรีย์ไทย.Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology.6(9),น.1-2.

Aaker, D.A. (2010). Building Strong Brands. London : Simon & Schuster UK Ltd.

Bergkvist, L., & Bech-Larsen, T. (2010). Two studies of consequences and actionable antecedents of brand love. Journal of Brand Management. 17(7), pp.504-518.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. (3 rd ed). New York : Harper.

Kohli, C., & Leuthesser, L. (2011). Brand Equity Capitalizing on Intellectual Capital. Ivey Business Journal. 65(4), pp.74-81.

Kotler, P., and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. (14 th ed). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Yamane Taro. (1973 ).Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York. Harper and Row Publications.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.(2560). ผลิตภัณฑ์ OTOP/คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยปี 2562. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563, จากhttps://cep.cdd.go.th/otop-data

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

สำนักงานพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). โครงการหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ (OTOP). ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563, จากhttps://district.cdd.go.th/bangpahan/services/.

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU). (2561). เผยสูตรลับความสำเร็จแบรนด์ไทย “ทำยังไงให้ปัง”.ค้นเมื่อ 12 กันยายน 2562.

จาก www.posttoday.com/economy/sme/599771.

ปิ่นทอง วงษ์สกุล.(2563, 29 พฤศจิการยน). ประธานชุมชนกุฎีจีน.สัมภาษณ์.ประธานชุมชนกฎีจีน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30