การพัฒนาแพลตฟอร์มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft Skill) ในสังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
แพลตฟอร์มผู้สูงอายุ, ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม, สังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต สถานภาพการเข้าถึง การใช้งานเทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ ของผู้สูงอายุในชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี 2) เพื่อสร้างต้นแบบแพลตฟอร์มผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft skill) ในสังคมผู้สูงอายุยุคดิจิทัลด้วยแบบฝึกทักษะชีวิตด้านการเรียนรู้ 4 ด้าน คือ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการกินอาหารตามหลักโภชนาการ ด้านการนอนหลับอย่างเพียงพอ และด้านสมองส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแพลตฟอร์มผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ศึกษาข้อมูลทั่วไป จำนวน 430 คน และผู้สูงอายุที่ใช้ศึกษาต้นแบบแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft skill) ด้วยแบบฝึกทักษะชีวิตด้านการเรียนรู้ 4 ด้าน และประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อแพลตฟอร์มจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกทักษะของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเกี่ยวกับแพลตฟอร์มผู้สูงอายุต้นแบบ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.60 อายุระหว่าง 60-69 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 49.60 รายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่พอมีเงินใช้จ่ายคือร้อยละ 37.50 อาศัยอยู่กับเครือญาติคิดเป็นร้อยละ 45 และมีผู้ดูแลคือร้อยละ 52.10 และเป็นสมาชิกในชุมชนร้อยละ 72.10 ผู้สูงอายุใช้มือถือร้อยละ 62.50 โดยส่วนใหญ่ใช้ผ่านทางไลน์ถึงร้อยละ 60.71 รองลงมาคือยูทูปร้อยละ 23.21 ใช้โนตบุกไม่เป็นคือร้อยละ 67.50 พื้นที่อาศัยมีเครือขายอินเทอรเน็ตถึงร้อยละ 76.10 ช่วงเวลาจะใช้คือช่วงกลางวัน (11.00-15.00 น.) ถึงร้อยละ 45 2. การพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มผู้สูงอายุส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft Skill) ก่อนและหลังเรียนรู้ทักษะชีวิตด้านการเรียนรู้ 4 ด้าน พบว่า หลังการฝึกทักษะชีวิตการเรียนรู้สูงกว่าก่อนฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการสัมภาษณ์ พบว่า 1) ด้านการออกกำลังกายส่วนใหญ่จะออกกำลังกายในบ้านและทำงานบ้าน ตามคลิปวีดิโอทำให้พบแพทย์น้อยลง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น 2) ด้านการกินอาหารตามหลักโภชนาการ พบว่า ระยะแรกการกินอาหารบางมื้อมีสารอาหารครบ บางมื้อไม่ครบ ระยะที่ 2 มีการเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น สารอาหารครบหมู่ ทั้ง 5 หมู่ มีการแบ่งช่วงเวลาการกินอาหารทั้ง 3 มื้อและเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น 3) ด้านการนอนอย่างพอเพียง ระยะแรกหลังจากฝึกกิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น เล่นโทรศัพท์น้อยลง ไม่นอนกลางวันนานเกินไป และไม่ทานอาหารก่อนนอน ระยะที่ 2 หลังจากฝึกกิจกรรม ฝึกนอนตามวีดิโอต้นแบบ โดยนอนตามเวลา เข้านอนเร็วขึ้น ลดความเครียดก่อนนอนทำให้นอนหลับดีขึ้น 4) ด้านทางสมองส่งเสริมสุขภาพจิตและอารมณ์ ระยะแรกผู้สูงอายุไม่ค่อยเครียดเนื่องจากมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ มีจิตอาสาให้กับสาธารณะประโยชน์ให้กับชุมชน ส่วนระยะที่ 2 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่หลังจากได้ปฏิบัติติตามวีดิโอฝึกทักษะรู้สึกดีขึ้น สมองปลอดโปร่งดี 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อแพลตฟอร์มผู้สูงอายุด้านส่งเสริมทักษะทางด้านอารมณ์ และสังคม (Soft Skill) และแบบฝึกทักษะชีวิตด้านการเรียนรู้ต่างๆ 4 ด้าน พบว่ามีความพอใจอยู่ในระดับมาก (= 4.46 ,S.D. = .570).
References
กองยุทธศาสตร์สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/hesd/page/main/1686.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2564, จาก
http://sasuksure.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index.
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ "เรียนรู้สังคม". ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564 จาก http://www.dop.go.th/knowledge/2.pdf.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). สถิติผู้สูงอายุ. จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th 1610815306-335-0.pdf.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). แผนปฏิบัติด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 (พ.ศ.2545-2565). ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563 : การประชุมคณะรัฐมนตรีพลเอกประยุกต์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564, จาก http://www.ryta.com/s/cabt/3196538.
กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. 11 (2), 21-38.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (2562). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สื่อสังคมออนไลน์. โครงการแหล่งการเรียนรู้ดิจิทัล. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http://www.sci.dru.ac.th/dir/files3/Media/20online/pdf.
จารีย์ ปิ่นทอง, ธนาภรณ์ จิตตนันทน์ ปรภัสสร แสวงสุขสันต์ และณัคนางค์ กุลนาถศิริ. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. โครงการศึกษาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่มีนัยต่อการดำเนินนโยบาย, สายนโยบาย ธนาคารแห่งประเทศไทย.
จุฑาลักษณ์ แสนโท, จารุกัญญา อุดานนท์, และกาญ ดำริสุ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.วารสารรัชตภาคย์. ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี สถาบันรัชต์ภาคย์, น.333-347.
ชลการ ทรงศรี ภัณฑิรชา เฟื่องทอง และทรงสุดา หมื่นไธสง. (2560). ผู้สูงอายุในสังคมสารสนเทศ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 26(3), น. 5-6.
ชวิศา แก้วอนันต์. (2561). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(2), น. 7.
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ. (2552). สุขภาพคนไทย 2552. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฐพร ม่วงแดง นาฎสินี ชัยแก้ว และพรทิพย์ สิงห์ชัย. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในชมรมผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 3. นครสวรรค์ :กลุ่มพัฒนานวัตกรรม วิจัยและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์.
ธันยพร จารุไพศาส. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564 จาก http://www.workwithpassiontrdining.com/17256345
ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ ฐิติมา สงวนวิชัยกุล และวงพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. (2563). การนอนหลับและสุขอนามัย การนอนหลับ : บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 14(2), น.15.
ธีระศักดิ์ สร้อยคีรี และอัจฉรา ปุราคม. (2562). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมบทเรียนออนไลน์ เพื่อ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคม วิทยาศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 12(4), น. 4-5.
นภัทร สิทธาโนมัย. (2563). ทักษะอารมณ์และสังคมในเด็ก. สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์. โรงพยาบาลศิริราช, ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2564, จาก http:///www.thepofential.org/2017/11/14/pewer-being-seen/. (thaipediatrics.org/media-20200518145953.pdf.
นิธิภัทร ชิตานนท์. (2563). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง ชลบุรี จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิธิภัทร บาลศิริ. (2561). รายงานการวิจัย การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตบนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร เขตฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา ยิ้มสกุล, วิไล ตั้งจิตสมคิด, และวาสานา เพิ่มพูล. (2561). การสร้างนวัตกรรมเสริมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้าโดยใช้ชุมชนและสถานศึกษาเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2562). แพลตฟอร์มออนไลน์ นวัตกรรมสร้างสุขสำหรับคนรุ่นใหญ่ สร้างชุมชนออนไลน์น่าอยู่พร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสร้างสรรค์. ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.salika.co/2019/06/11/online-platformaging-society/
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). สถานการณ์และแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556-2573.ชลบุรี : ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุ.
ปัทมาวดี สิงหาจารุ. (2559). การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พนม คลี่ฉายา. (2563). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤติพลังของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สำนักงานการวิจัย แห่งชาติ.)
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร : ดานสุทธาการพิมพ์.
ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2561). เทคโนโลยีสารสนเทศต่อสังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก.19(3), น.31-32.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน).
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). เปิดข้อเสนอวิถีชีวิตแห่งใหม่ สังคมผู้สูงอายุในยุค 5G. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก http//www.thaigri.org/P=39104.
รัชนีวรรณ แก้วรังสี. (2560).สุขภาพผู้สูงวัยดูแลอย่างไรให้ห่างไกลโรค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ Feel good.
รุ่งอุทัย บุญพรหม. (2563). Digital Learning. Platform : เทรนด์การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญพัฒน์. 39(1), น.86.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2564). Social Media ผู้สูงวัยรู้ให้ทันใช้ให้พอดี. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564, จาก http://www.bangkokhospital.com/content/social-media-and-the-elderly.
วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 7(2), กรกฎาคม - ธันวาคม. 2562.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และศตพร เพียรวิมังสา. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในหมู่บ้านดอนเซ่ง ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11 (1), น. 3144-3156
ศศิกานต์ วัฒนจันทร์. (2560). อาวุโสโซไซตี้. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564, จาก https://www.awusosociety.com/news 061260.
ศิริมา เขมะเพชร. (2559). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 8(2), น. 205-206.
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเขตสำนังานเขตธนบุรี. (2563). ชุมชนในพื้นที่เขตธนบุรี. จาก https://www.bangkok.go.th/thonburi/page/sub/10961.
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เอเชียเนอร์สซิ่งโฮม. (2564). อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564, จาก http://www.asianursinghome.com/content/1209.
สรัญญา ทองทับ. (2562). "4 Smart" ป้องกันผู้สูงอายุสมองเสื่อม. ค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.thebangkoksight.com/news/politics-general/127208.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล . (2563). สรุปฐานข้อมูลผู้สูงอายุระดับเขตของกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/hesd/main/1686.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ระยะสิ้นปี. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก http//www.bangkok.go.th/upload/user/00000132/elder/PDF.
อชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์. (2564). ทำไมต้อง Soft Skill.สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก http://www.palagrit.com/what-is-soft-skills/.บริษัทพละกวิท คอนซัลแทนท์.
อภิวัฒน์ รัตนวราหะ. (2563). เมืองแพลตฟอร์ม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564 จาก http://www.the101.world/platform-and-city.
อนันต์ อนันตกูล. (2560).สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. ค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2017/12.
อารีย์ มยังพงษ์ และเกื้อกูล ตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Bostrom, A. K. (2017). Intergenerational Relationships and Lifelong Learning. Journal of Intergenerational Relationships. 15(1), p.1-3.
Shop Back Blog TH. (2564). 7 กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุช่วยคลายเหงาคนวัยเก๋าและทำให้แฮปปี้กันทั้งบ้าน. จาก https://www.shopback.co.th/blog/li-health-กิจกรรมผู้สูงอายุ.
Vanessa, V. (2011). Digital Literacy is the Bedrock for Lifelong Learning. Retrieved October 25 2011, from https://www.edutopia.org/blog/digital-divide-technology-internet-access-literacy-vanessa-vega.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว