การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาจีนโดยการจัดการเรียนรู้ แบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

ผู้แต่ง

  • ชลลดา เชิดโฉม สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ทิมทอง นาถจำนง สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • Yi Fei Fan สาขาวิชาการสอนภาษาจีน คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน, ความสามารถการใช้ภาษาจีน, การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการใช้ภาษาจีนก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ2) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2 แห่ง จำนวน 240 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น อาจารย์สอนภาษาจีน จำนวน 6 คน  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ อาจารย์ภายในและภายนอกสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและแบบทดสอบวัดระดับทางภาษาจีน (HSK)  ทำการวิเคราะห์ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและt-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยที่พัฒนาด้วย ADDIE Model หลังการสังเคราะห์ข้อมูล กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นเรียนรู้ และ 3) ขั้นสรุป   2. ความสามารถการใช้ภาษาจีนของนักศึกษากลุ่มผู้เรียนหลังสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กฤตขจร ศรีราช. (2561). การพัฒนาทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เกื้อกูล โคตะหา. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์เรื่อง เซิ้งทอเสื่อ โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองแกสระแก้ววิทยา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฬาภรณ์ ละอองทอง. (2550). ผลของการใช้กลวิธีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน(ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : พีบาลานซ์ดีไซด์แอนปริ๊นติ้ง.

มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง สำนักงานกรุงเทพ. (2547). การสอบวัดระดับความสามารถภาษาจีน (HSK). ค้นเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.blcubangkok.com/ detailblcubangkok.php?qno=1detailblcubangkok.php?qno=1

ทัศนา ประสานตรี. (2536). การสอนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน. สารพัฒนาหลักสูตร. 12(114), 20.

วิทยาธร พันธ์สอาด. (2553). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต โรงเรียนหนองม่วงวิทยาคาร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ด้วยรูปแบบการฝึกอบรม ADDIE Model. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วีรพรรณ จันทร์ขาว. (2561). ประสิทธิผลของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการว่ายน้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจฉรา ชำนาญวงษ์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน (พื้นฐานการตีโปงลาง) แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน สาระการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Dalsgaard, C. (2557). Students’ use of Facebook for peer-to-peer learning. In Proceedings of the 9 th International Conference on Networked Learning, NCL (pp. 95-102).

Seel, B., and Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions. (2 nd ed). Columbus, Ohio : Prentice-Hall

Yu Jianping และคณะ. (2562). การศึกษาอิทธิพลของการเรียนรู้แบบ peer-to-peer ต่อความสามารถในการเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา วิทยาลัยการศึกษาพละเสฉวน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30 — Updated on 2022-12-30