วิถีชีวิตของคนในคลองบางเขน
คำสำคัญ:
วิถีชีวิตคน, คลองบางเขนบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิถีชีวิตของคนในคลองบางเขน ทั้งวิถีชาวสวนและวิถีชาวนา นับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการสิ้นสุดวิถีดังกล่าว นอกจากนี้ยังศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อวิถีดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้วิถีการทางประวัติศาสตร์ที่มีการรวบรวมหลักฐานจากเอกสารทีหลากหลายและใช้การสัมภาษณ์ โดยมีสมมติฐานว่าวิถีชีวิตของชาวคลองบางเขนมาจากระบบนิเวศน์ที่อยู่ทั้งภายนอกและภายในชุมชน งานวิจัยพบว่า 1.การตั้งถิ่นฐานของชุมชนในคลองบางเขนบนพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของดินดอนสามเหลี่ยมตอนใต้ของแม่น้ำเจ้าพระยานับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยา 2.วิถีชีวิตของชาวคลองบางเขนเป็นวิถีชีวิตการเกษตรที่ดำเนินเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ซึ่งเป็นทั้งชาวสวนและชาวนา 3.การเปลี่ยนแปลงของชาวสวนที่ผลิตเพื่อบริโภคไปสู่การผลิตเพื่อขายและเคลื่อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราเกิดขึ้นเมื่อพ่อค้าจากภายนอก(พ่อค้าผลไม้ตลาดมหานาค)เข้ามาประมาณเมื่อทศวรรษ 1930 4.ชุมชนคลองบางเขนเริ่มต้นผลิตข้าวเพื่อขายเมื่อสมัยรัชกาลที่ในช่าวงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ที่อยู่ด้านในของคลองบางเขน 5.การสิ้นสุดวิถีชีวิตการเป็นเกษตรกรของคลองบางเขนเกิดขึ้นเมื่อระบบนิเวศน์ของชุมชนเผชิญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและความเจริญต่าง ๆ ที่มาหลังแผนพัฒนาของประเทศ 2504
References
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมศาสนา กองพุทธศาสนสถาน. (2525). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. กรมศาสนา กองพุทธศาสนสถาน.
กระทรวงศึกษา. กรมศาสนา กองพุทธศาสนสถาน. (2526). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรเล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. กรมศาสนา กองพุทธศาสนสถาน.
โชคธำรง จงจอหอ. (2551). แนวการพัฒนาสวนส้มบางมดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์ สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2560). สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา : พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา:รากเหง้าแห่งสยามประเทศ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
วันวร จะนู. (2551). วิถีชุมชนสี่แยกทางน้ำ : วิถีเมือง วิถีคน ชุมชนที่แปรเปลี่ยน. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณทิตย์.
เสฐียรโกเศศ(พระยาอนุมานราชธน). (2531). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). กรุงเทพฯ มาจากไหน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศิลปวัฒนธรรม (ฉบับพิเศษ). กรุงเทพมหานคร : ศิลปวัฒนธรรม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). กำสรวลสมุทรหรือกำสรวลศรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน
ชะลอ ทองศาลา (2560, 7 เมษายน). สัมภาษณ์. ชุมชนในคลองบางเขน
วิไล นาคเนียม. (2560, 7 มกราคม). สัมภาษณ์. ชุมชนในคลองบางเขน
สมัย นาคอ่วม และเอี่ยม นาคอ่วม. (2558, 21 พฤษภาคม). สัมภาษณ์. ชุมชนในคลองบางเขน
สิริ ทมเปลี่ยน. (2560, 7 เมษายน). สัมภาษณ์. ชุมชนในคลองบางเขน
อำไพ ทองอ่อน. (2555,14 ธันวาคม). สัมภาษณ์. ชุมชนอุทิศนุสรณ์.
David, B. J.. (1975).Rural society and the rice economy in Thailand, 1880-1930. ProQuest Dissertations : Yale University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว