วัฒนธรรมดนตรีกะเหรี่ยง : บทบาทต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชน

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ กาญจนสุพรรณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

ดนตรีกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี, วัฒนธรรมดนตรี, การพัฒนาศักยภาพชุมชน

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมดนตรี ถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาขัดเกลาทางด้านจิตใจ โดยจะปรากฏอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม รวมถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในทุกสังคมโลก ผ่านการถ่ายทอดแสดงความรู้สึกนึกคิดด้วยเสียงดนตรีและเนื้อเพลงให้ผู้รับสารได้เข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกนั้น ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นฐานสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมดนตรีกะเหรี่ยง มุ่งนำเสนอถึงบทบาทในการพัฒนาขัดเกลาจิตใจคนในชุมชนกะเหรี่ยงด้วยเสียงดนตรี จากการร้องเล่นดนตรีกะเหรี่ยงในพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นดนตรีที่มีเนื้อหาเรื่องราวกล่าวถึงบริบทวิถีชีวิตของคนกะเหรี่ยง คำสอน ค่านิยม ทัศนคติ และตำนาน เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชน ทำให้วัฒนธรรมดนตรีกะเหรี่ยงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนทั้งในด้านมิติสังคม และมิติเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาด้านความคิด การพัฒนาด้านอารมณ์ เป็นต้นตลอดจนการขับเคลื่อนในมิติวัฒนธรรมที่ปรากฎในรูปแบบของการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การนำดนตรีกะเหรี่ยงมาแสดงในประเพณีกินข้าวห่อของชุมชนกะเหรี่ยงจังหวัดราชบุรี ทำให้ดนตรีมีบทบาทในการสร้างพลังและเรียกขวัญกำลังใจของคนในชุมชน เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน และเป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณี ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชนบนฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จะร่วมกันอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมดนตรีกะเหรี่ยงให้ดำรงอยู่ และนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนสืบไป

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย:งานวิจัยและความท้าทาย. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก https://www.tsri.or.th/dl/548.

กรรณิการ์ สัจกุล. (2532). ดนตรีศึกษา : จากบ้าน วัดและวัง สู่สถาบันอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 18(1-2), น. 37-40.

ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2541). เครื่องดนตรีของวงดุริยางค์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

จรัญ กาญจนประดิษฐ์. (2547). การศึกษาดนตรีชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยดุริยางวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรส.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพมหานคร : กองส่งเสริมงานวัฒนธรรม สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวง

.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2553). คลาสสิคสังวาส : รวบรวมความเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิคในหลากหลายมุมมอง. นครปฐม : สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิรัช ซุยสูงเนิน. (2520). ดนตรีสำหรับครูประถมศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนครินทรวิโรฒ.

สุกรี เจริญสุข. (2532). จะฟังดนตรีอย่างไรให้ไพเราะ. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30