ภาพยนตร์ไทย : ภาพสะท้อนโลกทัศน์ใหม่ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2520)
คำสำคัญ:
โลกทัศน์, ภาพยนตร์ไทย, ปัญหาสังคมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลกทัศน์ใหม่ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ใน 2 ประเด็น คือ 1) โลกทัศน์ใหม่ส่งผลต่อการสร้างผลงานภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล อย่างไร และ 2) โลกทัศน์เรื่องใดบ้างที่ปรากฏให้เห็นในผลงานภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยศึกษาจากภาพยนตร์ไทยจำนวน 3 เรื่อง คือ เขาชื่อกานต์ (พ.ศ. 2516) เทพธิดาโรงแรม (พ.ศ. 2517) และทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (พ.ศ. 2520) ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่อง สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ใหม่ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล 3 ประการ คือ 1) โลกทัศน์ของการนำเสนอภาพยนตร์ในฐานะสื่อศิลปะชนิดหนึ่ง 2) โลกทัศน์ของการชี้นำและสะท้อนปัญหาสังคม 3) โลกทัศน์แบบสัจนิยม อีกทั้งโลกทัศน์ใหม่ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ยังส่งผลให้ภาพยนตร์ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพทั้งทางด้านเทคนิคการนำเสนอและเนื้อหาอีกด้วย
References
เจนภพ จบกระบวนวรรณ. (2524). ยี่เก จาก “ดอกดิน” ถึง “หอมหวน”. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยา.
ชาตรีเฉลิม ยุคล, หม่อมเจ้า. (2524). โลกสีคราม. กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองรัตน์.
โดม สุขวงศ์. (2525). 85 ปี ภาพยนตร์ในประเทศไทย. ศิลปวัฒนธรรม. 3(8), น. 6-29.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2525). นวนิยายไทยในรอบทศวรรษ : ข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2538). โขน คาราบาว น้ำเน่าและหนังไทย : ว่าด้วยเพลง ภาษา และนานามหรสพ. กรุงเทพมหานคร : มติชน.
บางกอกสกาย. (2515). ใต้ฟ้าหลังคาโรงถ่าย. โลกดารา. 3(51), น. 46.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2539). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
แผน อัญชลี. (2517, 14 มีนาคม). เทพธิดาโรงแรม. สยามรัฐ, น. 13.
ไพศาล กรุมรัมย์. (2556). การศึกษาโลกทัศน์ในหนังสืออ่านนอกเวลาวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัตนา จักกะพาก. (2546). จินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล : การศึกษาวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลมูล อติพยัคฆ์. (2518). ชีวิตและงานของท่านมุ้ย. โลกดารา. 5, น. 24.
วิมลรัตน์ อรุณโรจน์สุริยะ. (2543). หนังโป๊กับเสรีภาพหลัง 14 ตุลา. หนัง : ไทย. 2(8), น. 34-43.
ศิริชัย ศิริกายะ. (2531). หนังไทย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย ศรีรักษ์. (2548). ภาพยนตร์ไทยและบริบททางสังคม พ.ศ. 2510-2525. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2535). ประวัติศาสตร์การบันเทิงสมัยใหม่ของไทย. รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต. (น. 1-16). นครนายก : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
สุภาพร คงศิริรัตน์. (2553). การศึกษาพระโลกทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ปรากฏในพระราชหัตเลขา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภาพร คงศิริรัตน์. (2557). โลกทัศน์ของลาวที่ปรากฏในคอลัมน์ “นานาสาระ” ของหนังสือเวียงจันใหม่. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
เสน่ห์ จาริก. (2536). การเมืองไทยกับปฏิวัติตุลาคม. วารสารธรรมศาสตร์. 19(2), น. 148-166.
อนุสรณ์ ศรีแก้ว. (2534). ปัญหาสังคมในภาพยนตร์ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชลี ชัยวรพร. (2540). หนังไทยกับการสะท้อนภาพสังคม. สารคดี. 13(150), น. 125-129.
อารดา กีระนันท์. (2524). ละครนอก : ละครพื้นบ้านของไทยแต่โบราณ. วารสารอักษรศาสตร์. 13(2), น. 42-69.
แอนเดอร์สัน, เบเนดิก. (2544). บ้านเมืองของเราลงแดง : แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บรรณาธิการ). จาก 14 ถึง 6 ตุลา. (น.97-162). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Promyothi, Parichart. (2000). Influence of Hollywood Movies On Contemporary Thai Films : Case Studies of Action-Thriller and Horror Genres. Master’s Thesis, Thai Studies, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.
Vincendeau, G. (1995). Encyclopedia of European Cinema. London : British Film Institute.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว