แรงจูงใจ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • จิตรา จันทราเกตุรวิ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • วริษฐา อ้นโต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การเห็นคุณค่าในตัวเอง, การผลิตผลงานวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ การเห็นคุณค่าในตัวเอง และแรงจูงใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษาในเขตปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตปริมณฑล ตามตารางของ Taro Yamane ได้จำนวน 175 คน จากกลุ่มประชาการจำนวนทั้งสิ้น 4,020 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชมีค่าเท่ากับ .961 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและการเห็นคุณค่าในตัวเองกับการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจ 3 ประเภทที่มีผลต่อการผลิตงานวิจัย ประกอบด้วย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือการตระหนักว่าผลงานวิจัยเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์คือ การชื่นชอบในการทำงานเฉพาะในหน้าที่ของตนเอง ไม่ต้องการโต้แย้งกับใคร และแรงจูงใจใฝ่อำนาจคือ ความปรารถนาในการสร้างชื่อเสียงให้ตนเองในฐานะอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 2) การเห็นคุณค่าในตัวเอง ประกอบด้วย ด้านทัศนคติที่ดีต่อตนเองและการปฏิบัติงาน คือ เชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ดีและเต็มที่ และด้านการแสวงหาความก้าวหน้า คือ การไม่ย่อท้อหรือล้มเลิกความคิดในการขอทุนสนับสนุนการวิจัย และ 3) แรงจูงใจ และการเห็นคุณค่าในตนเอง มีผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 96.20

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2561. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564, จาก https://cadt.dpu.ac.th/upload/content/files/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%202561.pdf.

กฤศวรรณ ประเสริฐสิทธ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 8(17), น.90-101.

ชนิตา เศษลือ. (2556). แรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 4(1), น. 24-32.

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2552). แรงจูงใจในการทำงาน. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1338&read=true&count=true

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2545). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://www.sesao30.go.th/module/view.phpacafile=5cc7dd2d935eb_%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A.%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4(%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882)%202545.pdf

วลัยพรรณ พรไพรสาร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มอะไหล่รถยนต์ จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2564). ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564, จาก http://www.nap.mua.go.th/FacultyRecord/Report/University/Summary.aspx

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/109763

สุธนี ลิกขะไชย. (2555). ผลของการใช้โปรแกรมต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนลอยสายอนุสรณ์ สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

อภิวัฒน์ แก่นจำปา. (2560). การเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพินทร์ ชูชม, อัจฉรา สุขารมณ์ และวิลาสลักษณ์ ชัววัลลี. (2554). การพัฒนาแบบวัดแรงจูงใจภายใน. วารสารพฤกรรมศาสร์. 6(1), น. 83-96

อัญชลี สนพลาย และภควรรณ ลุนสำโรง. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา. (8), น. 241-251.

Baumeister, F. Roy. Campbell., et al. (2003). Does High Self-Esteem Cause Better Performance, Interpersonal Success, Happiness, or Healthier Lifestyles?. Phycological Science in the Public Interest. 1(2003) from https://journals.sagepub.com/doi/10.1111/1529-1006.01431

Horodnic, Alexandra. Ioana., Zait, Adriana. (2015), Motivation and research productivity in a university system undergoing transition. Research Evaluation: 24(3). 2015.

Trujillo, Andres. Carlos. (2007). Building Internal Strength, Sustainable Self-Esteem, and Inner Motivation as a Researcher. Journal of Research Practice: 3 (1), 2007, pp. 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30