ผลของการใช้แป้งข้าวพันธุ์ กข43 ที่มีต่อคุณภาพและการยอมรับในผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤทัย สุนทรธรรมรัต สาขาวิชาการประกอบและบริการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ขนมทองม้วน, แป้งข้าวพันธุ์ กข43, การทดแทนบางส่วน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรต้นแบบของขนมทองม้วนที่เหมาะสม ศึกษาปริมาณแป้งข้าวพันธุ์ กข43 ที่มีผลต่อการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน วิเคราะห์คุณภาพและศึกษาอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่นรส เนื้อสัมผัส รสชาติ และความชอบโดยรวม โดยผู้ทดสอบชิม จำนวน 30 คน พบว่า ผู้ทดสอบให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนแป้งข้าวพันธุ์ กข43 ที่ทดแทนแป้งสาลีบางส่วนปริมาณร้อยละ 75 สูงที่สุด (p≤0.05) โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมเฉลี่ย 8.30 อยู่ในระดับชอบมากที่สุด จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนแป้งข้าวพันธุ์ กข43 มาทำการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 100 คน พบว่า ร้อยละ 82 ให้การยอมรับในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนแป้งข้าวพันธุ์ กข43 ปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 466.77 กิโลแคลอรี่ โดยมีความชื้น คาร์โบไฮเดรต โปรตีนไขมัน เถ้า และใยอาหาร เท่ากับร้อยละ 0.97 76.97 6.27 14.87 0.96 และ1.70 กรัม ค่าปริมาณน้ำอิสระ เท่ากับ 0.31 ค่าสี L* a* b* เท่ากับ 54.82 13.87 และ 29.94 ตามลำดับและค่าความแข็งเท่ากับ 730 กรัม ผลการศึกษาคุณภาพทางจุลินทรีย์ของขนมทองม้วนจากข้าวพันธุ์ กข43 ที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ในถุงอลูมิเนียมฟอยล์ แบบซิปล็อค ที่อุณหภูมิห้อง พบว่า มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมไทย (มผช.1/2552) กำหนด โดยผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 35 วัน

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (มปป.). ข้าวพันธุ์ กข43. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก http://webold.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=122.htm

เกศรินทร์ เพ็ชรรัตน์, สุนิสา วิไลพัฒน์ และจิราพร อัคคีสุวรรณ. (2557). การใช้กากมะพร้าวเสริมในขนมทองม้วน. วารสารวิชาการและงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร (ฉบับพิเศษ), น.14-22.

นิดดา หงส์วิวัฒน์. (2557). ขนมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : แสงแดด.

ประเวศ แสงเพชร. (2562). ข้าวพันธุ์ กข 43 เหตุใดจึงเหมาะกับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน. เทคโนโลยีชาวบ้าน. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_93009

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (มปป.). Water activity/แอคติวิตีของน้ำ. ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2565, จาก Water activity / แอคติวิตีของน้ำ - Food Wiki | Food Network Solution

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2552). ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขนมไทย. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564, จาก https://tcps.tisi.go.th/pub/tcps1_52.pdf

วิภาวัน จุลยา และพจน์นรินทร์ แสงอิ่ม. (2553). ขนมไทยตามเทศกาล. กรุงเทพมหานคร : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ กรมการข้าว. (มปป.). ข้าวพันธุ์ กข43. ค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=27

อบเชย วงศ์ทอง และขนิษฐา พูนผลกุล. (2559). หลักการประกอบอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรวสุ นพพรรค์. (2542). ขนมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์

อุบล ดีสวัสดิ์. (2547). สร้างความร่ำรวยด้วยอาหาร OTOP. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี

AOAC. (2019X. Official Methods of Analysis of AOAC International. 21st ed. Washington D.C. : Association of Official Analytical Chemists.

Phim on Suklaew, Charoonsri Chusak and Sirichai Adisakwattana. (2020). Physicochemical and Functional Characteristics of RD43 Rice Flour and Its Food Application. MDPI journal foods. 9(12), pp. 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30