การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ชนิดา จันทร์งาม สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, อัตลักษณ์, เพลงลูกทุ่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทเพลงลูกทุ่งและการแสดงนาฏศิลป์ประกอบ บทเพลง นำไปสู่การเผยแพร่ผลงานบริการร่วมกับชุมชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เอกสารเชิงวิชาการ งานวิจัย และงานสร้างสรรค์ด้านนาฏยศิลป์ การสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชนอำเภอบางพลี จำนวน 10 คน การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนบางพลี มีเนื้อหาและประเด็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. อัตลักษณ์ชุมชนบางพลีมี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านประชากร ประกอบไปด้วย ไทย ลาว มอญ จีน 2) ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ 3) ด้านสถาปัตยกรรม สนามบินสุวรรณภูมิสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 4) ด้าน คหกรรม มีการเลี้ยงปลาสลิดที่มีรสชาติดีเนื้ออร่อย 5) ด้านเกษตรกรรม การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีรสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์ 6) ด้านนาฏศิลป์และดนตรี ละครชาตรีและเครื่องดนตรีไทยที่มีการสืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2. การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ สามารถวิเคราะห์ตามองค์ประกอบการแสดงได้ 7 องค์ประกอบ คือ 1) แรงบันดาลใจและแนวความคิด 2) นักแสดง 3) บทร้องและดนตรีประกอบการแสดง 4) เครื่องแต่งกาย 5) อุปกรณ์ประกอบการแสดง 6) การใช้พื้นที่การแสดง 7) กระบวน ท่าประกอบการแสดง 3. การเผยแพร่ผลงานและการบูรณาการร่วมกับชุมชน เข้าร่วมนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมระดับชาติ “มหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมสมัย” วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรูปแบบออนไลน์

References

กิติดา ปิติวรรักษ์. (2557). วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำโบราณบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

คณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์. (2555). ชุดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรังสิต.

จินตนา ดํารงค์เลิศ. (2533). วรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง ขนบธรรมเนียมประเพณีค่านิยม และการดำเนินชีวิตของชาวชนบทไทยที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุธาการพิมพ์.

นุชจรินทร์ ทับทิม. (2553). การสื่อสารอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านกิจกรรมถนนคนเดิน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นราพงษ์ จรัสศรี .(2548). การสร้างสรรค์งานการออกแบบลีลาของผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์สำหรับการแสดงมหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนกและวิจิตรนาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติพระมหาชนก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร กรอบทอง. (2547). วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: พันธกิจ.

สุกัญญา สุจฉายา. (2545). เพลงพื้นบ้านศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2534). พระนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลูกทุ่งกับเพลงไทย ในกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30