การศึกษาแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูในบริบทการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง
คำสำคัญ:
การปฏิบัติการสอน, นักศึกษาวิชาชีพครู, การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ความสามารถของนักศึกษาวิชาชีพครูในการปฏิบัติการสอน 3) คุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูในการปฏิบัติการสอน 4) ปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการปฏิบัติการสอน กลุ่มประชากรและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นักศึกษาคณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 - 2562 จำนวน 64 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ครูพี่เลี้ยงที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2561 - 2562 ตามโรงเรียนที่ส่งนักศึกษาปฏิบัติการสอน จำนวน 25 คน และอาจารย์นิเทศก์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2561 - 2562 จำนวน 7 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามการปฏิบัติการสอนสำหรับนักศึกษา 2) แบบสอบถามการปฏิบัติการสอนสำหรับครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ และ 3) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สำหรับครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ได้ผลการวิจัยดังนี้ 1) รูปแบบการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู ความเห็นจากอาจารย์นิเทศก์แต่ละคนมีความสอดคล้องกัน สรุปเป็นขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ (1) กระบวนการก่อนการปฏิบัติการสอน (2) กระบวนการระหว่างการปฏิบัติการสอน และ (3) กระบวนการหลังปฏิบัติการสอน 2) ความสามารถของนักศึกษาวิชาชีพครูในการปฏิบัติการสอนตามความเห็นของนักศึกษา ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ มีความสอดคล้องกันในด้านการใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ 3) คุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูในการปฏิบัติการสอนตามความเห็นของ นักศึกษา ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ มีความสอดคล้องกันในด้าน มีจิตอาสาและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 4) ปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู ในภาพรวมพบว่า ปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง และ 5) นักศึกษาวิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ฉวีวรรณ สุวรรณา และคณะ. (2554). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. แพร่ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. (น. 446-456). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล. (2563). WORK-BASED EDUCATION” ทางออกการพัฒนาทักษะนักศึกษายุคใหม่. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/24214.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ. (2559). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ที่จัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในร้านสะดวกซื้อ. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (1), น. 206-212.
ภานุพันธ์ ขันธะ. (2560). การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฎิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ร่มเกล้า จันทราษี และคณะ. (2561). ผลการวิเคราะห์การสะท้อนผลปฏิบัติทดลองสอนของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 1 (2), น. 171-185.
เลิศชัย สุธรรมานนท์ และมัลลิกา บุญญาศรีรัตน์. (2564). การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของ พี.ไอ.เอ็ม PIM WORK-BASED EDUCATION WAY. รายงานการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ระดับชาติ ครั้งที่ 11 ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 5. (น. 231-244). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
สุคนธา ทองบริสุทธิ์. (2553). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในความคิดเห็นของนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว