การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สิริวัฒน์ ศรีเครือดง สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประยูร สุยะใจ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประยูร สุยะใจ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มั่น เสือสูงเนิน สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พุทธชาติ แผนสมบุญ สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุวัฒสัน รักขันโท สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ใช้แนวคิดการประเมินของ Danial L. Stufflebeam รูปแบบการประเมิน CIPP Model เป็นการวิจัยเชิงประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจเอกสารหลกสูตร สอบถามความคิดเห็นและสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรจากกลุ่มเป้าหมาย 4กลุ่ม ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 รูป/คน อาจารย์ประจำหลักสูตร 5 คน ผู้ใช้บัณฑิต 18 รูป/คน และนิสิต 69 รูป/คน ผลการประเมินหลักสูตรภาพรวม มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การประเมินความสัมพันธ์สอดคล้องของหลักสูตรด้านบริบท มีผลคะแนนเฉลี่ย 0.75 – 0.95 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านกระบวนการในภาพรวม พบว่า การประเมินในด้านบริบท ด้านกระบวนการเรียนการสอนรายข้อ ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตรรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่ภาพรวมการประเมินด้านการบริหารและพัฒนาอาจารย์รายข้อ และด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้รายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความคิดเห็นของนิสิต ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ของโครงสร้างของหลักสูตรแบบ 1.1 และ 2.1 และการวิเคราะห์ของความเหมาะสมทั่วไปของรายวิชาในหลักสูตรและรายวิชารายด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมล โพธิเย็น. (2559). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์ (2552). การประเมินเพื่อการเรียนรู้, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 1 (1), น. 6-19.

กองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). นวลักษณ์นิสิต 9. ค้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 จาก https://stud.mcu.ac.th/?page_id=1215.

จรรยา ดาสา และคณะ. (2563). รายงานวิจัยเรื่อง การประเมินและติดตามผลหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา (แผน ข) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิรัญญา บุรีมาศ และชนาธิป สันติวงษ์. (2561). การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขบัณฑิต พ.ศ. 2553 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. นครราชสีมา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พุทธชาติ แผนสมบุญ และคณะ. (2563). รายงานผลการประเมินโครงการสานงานเสริมพลังภาคีเครือข่ายสุขภาวะระดับกลุ่มจังหวัด. สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).

มั่น เสือสูงเนิน สิริวัฒน์ ศรีเครือดง และเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์. (2562). การประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาเพื่อการจัดการศึกษาทางด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์. 8 (1), น. 112.

วัชระ จันทราช. (2554). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 3(1), น.71-72.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อาร์ แอนด์ ปริ้น จำกัด.

สุชาติ พิมพ์พันธ์ และคณะ. (2559). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา พ.ศ. 2555. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

สำนักประกันคุณภาพ. (2562). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2562. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Oliva. P. F. (2009). Developing the curriculum (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Ornstein. A. G. & Hunkins. F. P. (2013). Curriculum foundations, principles, and issues. New York: Pearson Education.

Patphol. M. (2015). Curriculum evaluation for learning and development (3rd eds.) Bangkok: Charansanitwong Printing Co., Ltd.

Stuffle Beam. D. L. (1973). “Education evaluation and decision-making”. In Education evaluation: Theory and practice. Belmont, California: Wadsworth Publishing Company.

Wongyai. W. (2011). Curriculum Evaluation for Higher Education.Bangkok: R&N Printing Co., Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30