ผลของการดำเนินงานการจัดการห่วงโซ่อุปทานสีเขียว กรณีศึกษา: อุตสาหกรรมยานยนต์ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อัณณ์ณิชา ธัญญะชัยรัตน์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สิริธิดา สงขวัญ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อนวัช เครือจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการด้านผลิต ฝ่ายให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจการเพิ่มผลผลิต

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่อุปทานสีเขียว , ผลการดำเนินงาน , อุตสาหกรรมยานยนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อศึกษาเชิงลึกการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการนำมาใช้และประสบความสำเร็จร่วมกัน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ผลประโยชน์การดำเนินการในห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของบริษัทคู่ค้าในอุตสาหกรรมรถยนต์ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานสีเขียวของบริษัทคู่ค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยใช้กรณีศึกษาจำนวนสองกรณีศึกษาจากสี่บริษัท ซึ่งทั้งสองกรณีศึกษาจะประกอบไปด้วยคู่ค้าระหว่างบริษัทผลิตรถยนต์และบริษัทจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลที่ได้จากวิจัยพบว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จทางด้านห่วงโซ่อุปทานสีเขียวจะมีการจัดการห่วงโซ่อุปทานในห้าด้าน ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน การจัดซื้อสีเขียว ความร่วมมือกับลูกค้า ผลประโยชน์ที่ได้รับกลับคืนจากการลงทุน และการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนผลการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานสีเขียว ได้แก่ ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ผลทางด้านเศรษฐกิจ และผลทางด้านสังคมและภาพลักษณ์ และสำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นคือ  การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร  ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ และรวมไปถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องมีวิสัยทัศน์เพื่อให้เกิดการตั้งเป้าหมายร่วมกันของบริษัทคู่ค้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน

References

ณฐนนท นิยมญาติ. (2556). การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของห่วงโซ่อุปทานเชิงสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรทิพย์ รอดพ้น และ บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2560). แรงผลักดันในการดำเนินการเทคโนโลยีสะอาด กิจกรรมห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7(1), น. 54-62.

Amah, E. & Ahiauzu, A. (2013). Employee involvement and organizational effectiveness. Journal of Management Development, 2013(7), pp. 661-674.

Blome, C., Hollos, D., & Paulra, A. (2014). Green procurement and green supplier development: Antecedents and effects on supplier performance. International Journal of Production Research, 2014 (1), pp. 32-49.

Feng, M., Yu, W., Wang, X., Wong, C. Y., Xu, M., & Xiao, Z. (2018). Green supply chain management and financial performance: The mediating roles of operational and environmental performance. Business strategy and the Environment. 2018(7), pp. 811-824.

Geng, R., Mansouri, S. A., & Aktas, E. (2017). The relationship between green supply chain management and performance: A meta-analysis of empirical evidences in Asian emerging economies. International Journal of Production Economics. 183, pp. 245-258.

Glasser, B.G. and A.L. Strauss (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Chicago: Aldine.

Green Jr, K. W., Zelbst, P. J., Meacham, J., & Bhadauria, V. S. (2012). Green supply chain management practices: impact on performance. Supply Chain Management: An International Journal. 2012(3), pp. 290-305.

Gsb.or.th. (2019). Government Savings Bank | ธนาคารออมสิน. Retrieved July 18 2019, from ttps://www.gsb.or.th/GSB-Research.aspx.

Kuei, C.-h., Chow, W. S., Madu, C. N., & Wu, J. P. (2013). Identifying critical enablers to high performance environmental management: an empirical study of Chinese firms. Journal of environmental planning and management. 2013 (8), pp. 1152-1179.

Yu, W., Chavez, R., Feng, M., & Wiengarten, F. (2014). Integrated green supply chain management and operational performance. Supply Chain Management: An International Journal. 2014(5), pp. 683-696.

Zacharia, Z. G., Nix, N. W., & Lusch, R. F. (2011). Capabilities that enhance outcomes of an episodic supply chain collaboration. Journal of Operations Management. 2011(6), pp. 591-603.

Zhou, H., & Benton Jr, W. (2007). Supply chain practice and information sharing. Journal of Operations Management. 2007 (6), pp. 1348-1365.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26 — Updated on 2024-06-28

Versions