สถานการณ์และการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมบ้านนาชัย จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • ปิยพร ท่าจีน สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • สุมาลี ไชยศุภรากุล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ธีรพงศ์ ไชยมังคละ สาขาการบริหารและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ศิรส ทองเชื้อ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

หนี้สิน, กระบวนการมีส่วนร่วม, ครัวเรือน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์หนี้สินบ้านนาชัย (นามสมมุติ) จังหวัดชัยนาท 2) วิเคราะห์สาเหตุของการมีหนี้ของบ้านนาชัย 3) เสนอแนวทางพัฒนาการแก้ไขปัญหาหนี้สินในบ้านนาชัย เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง 90 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามสุ่มแบบเจาะจง และเชิงคุณภาพใช้สนทนากลุ่ม ระดมสมองและประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ครัวเรือนบ้านนาชัยมีหนี้สะสมและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ใน 90 ครัวเรือนมีหนี้ 65 ครัวเรือน ในจำนวนนี้เป็นชาวนาจำนวน 33 ครัวเรือนมีหนี้สินมากที่สุดเฉลี่ย 496,593 บาท/ครัวเรือน รองลงมาอาชีพรับจ้างมีหนี้ 106,883.40 บาท/ครัวเรือน 2) สาเหตุการมีหนี้คือเข้าร่วมนโยบายรัฐส่งเสริมการกู้เพื่อการลงทุน รายจ่ายไม่สมดุลกับรายรับ ขาดความรู้ด้านการเงิน เข้าถึงแหล่งเงินกู้ง่ายและมีจำนวนมาก และวงเงินกู้สูงดอกเบี้ยต่ำ 3) แนวทางการแก้ไขหนี้สิน 6 แนวทาง คือรวมหนี้ พัฒนาความรู้ด้านการเงิน การออมเงิน การหารายได้เพิ่ม การไม่กู้เพิ่ม และการตัดเงินต้น ชาวบ้านเสนอ 5 ขั้นตอนก่อนใช้แนวแก้ไขหนี้สินคือ สำรวจหนี้สิน วิเคราะห์รายรับรายจ่าย เลือกแนวทางจัดการหนี้ เจรจาเจ้าหนี้ วางแผนชำระหนี้ ผลการวิจัยเสนอว่า การที่รัฐมีนโยบายช่วยเหลือชาวนาโดยให้กู้ยืม ไม่ได้ช่วยเพิ่มผลผลิต แต่ทำให้ชาวนาตกอยู่ในวงจรกู้หนี้หมุนเวียน ทำนาด้วยระบบสินเชื่อ การแก้ไขปัญหาหนี้สินต้องออกแบบเฉพาะครัวเรือนให้สอดคล้องกับบริบทและศักยภาพของแต่ละครัวเรือน และรัฐควรเปลี่ยนวิธีคิดจากใช้นโยบายการให้กู้ยืมกับชาวนาเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพ และทักษะที่จำเป็นให้กับเกษตรกรเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2554). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สร้างสรรค์.

นณริฏ พิศลยบุตร และคณะ. (2563). สินเชื่อกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชีวิตเกษตรกร : ปัญหากับดักหนี้. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2018/07/farmer-debt-management/

ประภาส ปิ่นตบแต่ง และ ตะวัน วรรณรัตน์. (2558). การเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจการเมืองในชุมชนชนบทและการปรับตัวของชุมชนชาวนาภาคกลางบางแห่ง. ใน พงศกร เฉลิมชุติเดช และ เกษรา ศรีนาคา (บรรณาธิการ). โครงการเปลี่ยนแปลง “ชนบท” ในสังคมไทย : ประชาธิปไตยบนความเคลื่อนไหว : รวมบทความประกอบการนำเสนอผลงานชุดโครงการวิจัย. (น.283-340).กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ปิยพร ท่าจีน และคณะ. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องแนวทางการลดหนี้อย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนาชัย จังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ภานุพงศ์ ลานุช และคณะ. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตข้าว กรณีศึกษาเกษตรกร ผู้เช่าที่ดินกับเกษตรกรเจ้าของที่ดินในพื้นที่ ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 34 (3), น. 133-142.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอต่อสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จาก https://tdri.or.th/wp- center/uploads/2019/05/ภาวะหนี้สินเกษตรกรFinal-Report.pdf.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (2563). รายงานสถานการณ์ส่งออกข้าวไทย แนวโน้มลทิศทางการส่งออก ข้าวไทย ปี 2563. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563, จาก http://www.thairiceexporters. or.th/Press%20release/2019/TREA%20Press%20Release%20Thai%20Rice%20Situation% 20&%20Trend%20Year%20201930012019.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). การศึกษาต้นทุนการผลิตประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของการผลิตข้าวแปลงใหญ่ กรณีศึกษาพื้นที่ภาคกลางตอนบน 2. ค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2563, จาก http://oaezone.oae.go.th/assets/portals/16/fileups/zone7/Files/งานวิจัยปี2562/ ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของการผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่2.pdf.

อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปาก จากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.

Marketeer. (2563). ข้าวไทย 62 ส่งออกต่ำสุดในรอบ 6 ปี กับความท้าทายของรายได้ชาวนาไทยในการส่งออก. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2563, จาก https://marketeeronline.co/archives/163385.

PPTV. (2563). ชาวนาหนี้สินบีบรัด ต้องเสี่ยงทำนารอบใหม่แม้น้ำแล้ง. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563,จาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/118746.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29