ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรสังคม
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, การบริหารวิชาการ, นวัตกรสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดาญจนบุรี จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี และสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Priority Needs Index ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.29) และมาก (M=4.25) ตามลำดับ โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.30) รองลงมา คือ ด้านพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.28) และด้านการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.28) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ทั้งนี้โรงเรียนสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการวางแผนการบริหารวิชาการ เพื่อพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะนวัตกรสังคมได้ต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร :กระทรวงศึกษาธิการ.
กมล ภู่ประเสริฐ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กมล ภู่ประเสริฐ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. นนทบุรี : 21 เซ็นจูรี.
จามจุรี จำเมือง. (2553). ผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคง.
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และวาสนา อิ่มเอม. (2546). นวัตกรรมสังคม ทางเลือกเพื่อประเทศไทยรอด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ดี.
บุญชนก ธรรมวงศา. (2561). ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก https://bit.ly/3bCIPAr
ปองสิน วิเศษศิริ. (2548). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่4). อุบลราชธานี : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: เซ็นจูรี่.
สุเวช กลับศรี. (2557). ภาวะผู้นำที่ควรพัฒนาในเยาวชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 6 (2), 132- 140.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ.2561 – 2564. กาญจนบุรี : กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.
อนุพงษ์ คล้องการ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน.วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3 (2), น. 42 – 60.
อารี พันธ์มณี. (2537). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ.
Alden-Rivers, B., Armellini, A., Maxwell, R., Allen, S., & Durkin, C. (2015). Social innovation education: Towards a framework for learning design. Higher Education Skills and Work Based Learning. 5(4), pp. 383-400.
Birgili, B. (2015). Creative and Critical Thinking Skills in Problem-based Learning Environments. Journal of Gifted Education and Creativity. 2(2), pp. 71-80.
Brookhart, S. M. (2013). How to create and use rubrics for formative assessment and grading. Alexandria, VA : Association for Supervision & Curriculum Development (ASCD).
Campbellsville University. (2019). Building Student Leadership in the Classroom. Retrieved April 25, 2020, from https://bit.ly/3pWiaVw
Collegium Civitas. (n.d.). A Course in Social Innovation. Retrieved May 25, 2021, from https://bit.ly/3c7LNNo
Gryszkiewicz, L., Bogumil, A. & Toivonen, T. (2018). Social innovation skills: what are they? Retrieved May 25, 2020, from http://eprints.lse.ac.uk/91094/
Hamburg, I., Gabriel, V. & O’Brien. (2017). Fostering skills for digital social innovations in entrepreneurship education. Balkan Region Conference on Engineering and Business Education. 3 (1), pp. 99 -105.
Manzini, E. (2014). Design, When Everybody Designs: An Introduction to Design for Social Innovation. Massachusetts: The MIT Press.
Matthews, H.C. & Ralph Brueggemann. (2015). Innovation and Entrepreneurship: A Competency Framework. London: Routledge.
Murray, R., Caulier-Grice, J. and Mulgan, G. (2010). The open book of Social Innovation. Retrieved May 25, 2020, from https://bit.ly/3EZ23wu
The Social Innovation Academy. The European Union. (2017). Social Innovation Skills. Retrieved May 25, 2020, from https://bit.ly/3y4fV5F
Tedesco, J.C., Oppertti, R. and Amadio, M. (2013). The curriculum debate: why it is important today. Retrieved March 25, 2021, from https://bit.ly/2RPur0g
The World Business Council for Sustainable Development (WBCSD). (2016). Skills for social innovation. Retrieved May 25, 2020, from https://bit.ly/3vVA0JB
Enterprise Center, Lancaster University. (2015). Who is a Social Innovator? Retrieved May 25, 2020, from https://bit.ly/3o79VVh
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว