การศึกษาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชุมชนกำแพงทองพัฒนา

ผู้แต่ง

  • สุธิดารัตน์ มัทธวรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
  • ชยาภรณ์ ศฤงคารทวีกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ชุมชนกำแพงทองพัฒนา, คลองบางหลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชุมชน 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยว ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากแบบรายการตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้นำ สมาชิกในชุมชน และนักท่องเที่ยว รวม 38 คน พบว่า ชุมชนมีมีวิถีการดำเนินชีวิตริมน้ำแบบดั้งเดิม มีวัดโดยรอบชุมชน มีศิลปะ จิตรกรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ที่โดดเด่น รวมถึงการมีบ้านศิลปินที่นำศิลปะและการแสดงเชิดหุ่นละครเล็กนำเสนอแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการท่องเที่ยวของชุมชน ส่วนการบริหารจัดการของชุมชนเป็นแบบตามสถานการณ์ โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำทุกคนและสมาชิกในชุมชน เน้นบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ เคารพในความเป็นส่วนตัวซึ่งกันและกัน มีความเรียบง่าย ภายใต้ความเชื่อเดียวกันในเรื่องของสุนทรียะทางศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมิได้มุ่งเพื่อผลกำไร ส่วนสภาพแวดล้อมในการจัดการท่องเที่ยว พบว่า (1) จุดแข็งคือ สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม ที่ไม่ได้ปรุงแต่งขึ้น (2) จุดอ่อนคือ การขาดการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพในทุกช่องทาง ขาดงบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น เครื่องเอทีเอ็ม หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่มีความต้องการพิเศษ (3) โอกาส คือ ได้รับการส่งเสริมในการจัดการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว (4) อุปสรรคญคือ การขาดงบประมาณสนับสนุน และมีคู่แข่งด้านการท่องเที่ยวจากชุมชนโดยรอบ ดังนั้นเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้ยั่งยืน ต้องสร้างการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม และสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นตัวแทนของชุมชนที่นักท่องเที่ยวจะนำกลับไปเผยแพร่ และจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

References

กิตติพร ใจบุญ. (2544). โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาแหล่งวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชน : กรณีศึกษาย่านกุฎีจีนและพื้นที่ใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวมกราคม-ธันวาคม 2558. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว

นรินทร์ สังข์รักษา. (2555). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การวิจัยเพื่อพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืนในจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพรส แอนด์ดีไซน์จํากัด.

ภาณี ชนาธิปกรณ์. (2553). การตลาดเชิงวัฒนธรรมเกาหลีใต้ผ่านทางดนตรีภาพยนตร์และการท่องเที่ยว. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 47(4), 38-41.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม: คณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล. (2553). การเพิ่มคุณค่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 47(4), 19-24.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2545). กวีสยามนำเที่ยวกรุงเทพฯ. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Eriketa Vladi. (2014). Improvement of Albanian Customs Administration Tourism Development Strategies, SWOT analysis and improvement of Albania’s image. European Journal of Sustainable Development. 3 (1), pp. 167-178.

Fiedler, F. E. (1971). Validation and extension of the contingency model of leadership effectiveness: A review of empirical findings. Psychological Bulletin, 76 (2), pp.128-148. University of Washington.

Koster, Emlyn H. (1996). “Science Culture and Cultural Tourism”. In Mike Robinson, Nigel Evans and Paul Callaghan, eds. Tourism and Cultural Change: Tourism and Culture towards the 21st Century, pp. 227–238. Sunderland: The Center for Travel and Tourism and Business Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28