การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพงานช่าง-วิศวกรรม ที่มีความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพชรา พิพัฒน์สันติกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • มินตรา ศักดิ์ดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ธารทิพย์ แก้วเจริญ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม, ศักยภาพงานช่าง-วิศวกรรม, การประเมินแบบ CIPP Model

บทคัดย่อ

การผลิตและพัฒนากำลังคนในภาคอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพกำลังคนทุกช่วงวัยและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยการต่อยอดทักษะ (Re-skill) กำลังคนในสถานประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนากำลังคน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรม และศึกษาผลของรูปแบบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพงานช่าง-วิศวกรรมที่มีความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี เก็บข้อมูลกับคณะกรรมการดำเนินงานและวิทยากร 10 คน และผู้เข้ารับการฝึกอบรม 16 คน กำหนดขอบเขตเนื้อหา 4 รายวิชา ได้แก่ 1) เขียนแบบเบื้องต้น 2) เครื่องมือกลเบื้องต้น 3) งานบำรุงรักษาเครื่องจักร และ 4) ไฟฟ้าเบื้องต้น และประเมินผลของรูปแบบการฝึกอบรมตาม CIPP Model ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการฝึกอบรมเน้นการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ กำหนดระยะเวลา 28 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ด้านกิจกรรมการฝึกอบรมมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นการให้โจทย์คำสั่งจากใบกิจกรรมและฝึกทักษะปฏิบัติซ้ำจนเกิดความชำนาญโดยใช้เครื่องมือและครื่องจักรจริง ด้านสื่อการสอน ประกอบด้วย ใบสะท้อนคิด ใบกิจกรรม ใบความรู้ แบบฝึกหัด และใบมอบหมายงาน ด้านการวัดและประเมินผล ใช้การทดสอบก่อนเรียนเพื่อศึกษาพื้นฐานความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ใช้การสังเกตและประเมินทักษะการปฏิบัติโดยวิทยากรเป็นผู้บันทึกการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และทดสอบหลังเรียนเพื่อสรุปความรู้ของผู้เรียนในภาพรวมตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไปทุกคน ผลของรูปแบบการฝึกอบรมพบว่า ด้านประเมินบริบท (Context) อยู่ในระดับดี (x̅ = 3.76) ด้านประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) อยู่ในระดับดี (x̅ = 4.17) ด้านประเมินกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับดี (x̅ = 3.94) และด้านประเมินผลผลิต (Product) อยู่ในระดับดี (x̅ = 4.17)

References

กัลยาณี จิตร์วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการออกแบบสำหรับการสอนแนะแบบผสมผสานและการเรียนรู้จากการปฏิบัติสำหรับศึกษานิเทศก์เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์การครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กีรติกร บุญส่ง และหทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานปฏิบัติการระดับ 4 กลุ่มวิชาชีพหลักและกลุ่มวิชาชีพสนับสนุนในการขับเคลื่อนองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3): 125-137.

เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้. (2561). การพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3): 5-8.

ฐานเศรษฐกิจ. (2560). พัฒนาแรงงานทักษะ ตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thansettakij.com/content/218071.

เติมศักดิ์ จั่นเพชร. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการปฏิบัติงานของผู้ช่วยพยาบาลโดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและสุนทรียสนทนา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัทมา จันทวิมล. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการฝึกอบรมของนักพัฒนาบุคลากร. วิทยานิพนธ์การครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1): 8-13.

ปิยะนิตย์ โอนพรัตน์วิบูล และนาทวุฒิ ตรีเพ็ชร. (2557). แรงงานไทย โอกาสหรือข้อจำกัดในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 51(3): 6-14.

พัชริดา เอี่ยมสุนทรชัย. (2559). การประเมินผลโครงการฝึกอบรมผู้บริหาร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพชรรัตน์ พิบาลวงค์ และคณะ. (2562). การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลทางสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(3), 175-184.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่ : สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25(2): 13-23.

ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563, จาก https://bit.ly/3u5NTU3

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2560-2564). ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2563, จากhttp://www.industry.go.th/
psd/index.php/agency/2016-04-21-04-17-02/2016-04-21-04-20-09/1031-2560-2564-2563-2

โสภา แซ่ลี. (2558). การประเมินโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Fast, O. M., Teka, H. G., & Alemayehu, M. (2019). The impact of a short-term training program on workers’ sterile processing knowledge and practices in 12 Ethiopian hospitals: A mixed methods study. PloS one, 14(5): 1-11.

Gil, A. J., Garcia-Alcaraz, J. L., & Mataveli, M. (2015). The training demand in organizational changes processes in the Spanish wine sector. European Journal of Training and Development, 39(4): 315-331.

Maloney, F. (2021). Exploring further education and training:“who is the further education and training adult learner”? (Doctoral dissertation). Ireland: Dublin City University.

Rooholamini, A., Amini, M., Bazrafkan, L., Dehghani, M. R., Esmaeilzadeh, Z., Nabeiei, P., & Kojuri, J. (2017). Program evaluation of an integrated basic science medical curriculum in Shiraz Medical School, using CIPP evaluation model. Journal of Advances in Medical Education & Professionalism, 5(3), 148-154.

Sal, A., & Raja, M. (2016). The impact of training and development on employees performance and productivity. International Journal of Management Sciences and Business Research, 5(7): 36-70.

Stufflebeam, D.L. (2003). The CIPP model for evaluation. In T. Kelleghan & D.L. Stufflebeam (Eds.). International Handbook of Education Evaluation (pp. 31-62). London: Kluwer Academic Press.

Zuber-Skerritt, O., & Teare, R. (Eds.). (2013). Lifelong action learning for community development: Learning and development for a better world. Springer Science & Business Media.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28