อิทธิพลการรับรู้คุณค่าแบรนด์หรูหราที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อโดยมี ความภาคภูมิใจเป็นตัวแปรส่งผ่าน กรณีศึกษานาฬิกาหรูหรา เดอะสวอท์ชกรุ๊ป เทรดดิ้ง (ประเทศไทย)
คำสำคัญ:
การรับรู้คุณค่า, ความภาคภูมิใจ, ความตั้งใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการรับรู้คุณค่าแบรนด์หรูหราที่ส่งผลต่อ ความภาคภูมิใจ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างความภาคภูมิใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อและ 3) เพื่อตรวจสอบ อิทธิพลทางอ้อมของการรับรู้คุณค่าแบรนด์หรูหราที่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจซื้อ โดยมีความภาคภูมิใจ เป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ที่ใช้นาฬิกาในเครือเดอะสวอท์ช กรุ๊ปเทรดดิ้ง (ประเทศไทย) ประเภท Prestige and Luxury Range จำนวน 208 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช่ความน่าจะเป็น ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย ด้วยวิธีการสร้างโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (ค่า CMIN/DF เท่ากับ 1.936 ค่า RMR เท่ากับ 0.045 ค่า GFI เท่ากับ 0.900 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.067 ค่า IFI เท่ากับ 0.953 ค่า CFI เท่ากับ 0.952) ซึ่งสรุปผลการวิเคราะห์ดังนี้ 1) การรับรู้คุณค่าแบรนด์หรูหรา มีอิทธิพลต่อความภาคภูมิใจ เท่ากับ 0.869 2) ความภาคภูมิใจที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจ เท่ากับ 0.452 และ 3) การรับรู้คุณค่าแบรนด์หรูหราอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจซื้อเท่ากับ 0.393 โดยมีความภาคภูมิใจเป็น ตัวแปรส่งผ่าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001
References
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามลดา.
เอื้อมกุล สุขสุชีพ. (2561). ปจจัยสวนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลตอพฤติกรรมผูบริโภคนาฬิกา LOUIS MORAIS บริษัทดรีมทีม (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน). วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. 7(13), น. 99.
Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services. 21 (3), pp. 407-414.
Di, S. (2015). A Comparative Study, This Research Examines Repurchase Intention Concerning Luxury Product Among Thai and Chinese Consumers in Bangkok, Thailand and Kunming. a Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirement for the Degree of Master of Business Administration in Marketing Graduate School of Business. Assumption University.
Euromonitor. (2019). Watch in Thailand. Retrieved July 17, 2519, from www.euromonitor.com.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7 th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Marketeer. (2018). เวลาที่หมุนเร็วขึ้นของนาฬิกา. Retrieved July 17, 2519, from https:// marketeeronline.co/archives/65313.
Mohd, N.M., Norshazreena, M.N., & Norshaheeda M.Noor. (2016). Purchase Intentions of Foreign Luxury Brand Handbags among Consumers in Kuala Lumpur Malaysia. The Journal of Procedia Economics and Finance. 35(16), pp. 206-215.
Netemeyer, R.G., Burton, S., & Lichtenstein D.R. (1995). Trait Aspects of Vanity: Measurement and Relevance to Consumer Behavior. Journal of Consumer Research. 21(4), pp. 612-626.
Shukla, P., & Purani, K. (2011). Comparing the Importance of Luxury Value Perceptions in Cross-National Contexts. Journal of Business Research, Forthcoming. 65(10), pp. 1417-1424.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและบุคลากรท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว