การพัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สนับสนุนการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐคมณ์ ไพศาลวัสยศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สนับสนุน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยว และเก็บข้อมูล โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการดำเนิน การวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้วิธีการตามวงจรชีวิตของระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ซึ่งมี 5 ขั้นตอน และได้นำระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ไปประเมิน ประสิทธิภาพโดยผู้ใช้งานที่เป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 385 คน ผลจากวิจัยพบว่าระบบสารสนเทศทาง ภูมิศาสตร์สนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรี มีประสิทธิภาพทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functionality) ได้ค่าเฉลี่ย 4.16 ด้านการตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement) ได้ค่าเฉลี่ย 4.18 ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security) ได้ค่าเฉลี่ย 3.61 ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability) ได้ค่าเฉลี่ย 3.98 ด้านประสิทธิภาพ การใช้งานของโปรแกรม (Efficiency) ได้ค่าเฉลี่ย 4.10 ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับดีทุกด้าน

References

กัญจน์ อัครยาภัคพล และชนม์ชนก ตั้งมหาศุกร์. (2555). โปรแกรมประยุกต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครและปริมณฑลบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งพัฒนาบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์. โครงงานปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรรณิการ์ ห่อหุ้ม และธัญลักษณ์ ณ รังษี. (2556). แอพลิเคชันบนมือถือเพื่อการท่องเที่ยวอุทยาน แห่งชาติ ในประเทศไทย. โครงงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จำรัส กลิ่นหนู ประสิทธิ์ สารภี และสำราญ ไชยคำวัง. (2556). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยว จังหวัดน่านสำหรับอุปกรณ์มือถือ. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก www.educationconference. com.

ชไมพร ทองขาว และมาลีรัตน์ โสดานิล. (2557). ระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติทาง ภาคใต้ ของประเทศไทยด้วย กูเกิลแมพ เอพีไอ บนมือถือสมาร์ทโฟน. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก www.educationconference.com.

นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม. (2555). ระบบการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แท็บเล็ต (Tablet) คอมพิวเตอร์ พกพาในการช่วยเร่งการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างสังคมเมืองและชนบทให้แก่ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปสู่สังคมแห่งความรู้ อย่างสร้างสรรค์ของประเทศไทย. วารสารการศึกษาไทย. 9 (19), น. 19

พรศิริ กองนวล และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยการศึกษาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเขตธนบุรี เขตคลองสาน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วรรณพร รัตนศฤงค์. (2555). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว แหล่ง ผลิตอาหารปลอดภัยและแหล่งท่องเที่ยงเชิงเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วศิน เพิ่มทรัพย์ และคณะ. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร : โปรวิชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักบริหารการทะเบียน. (2554) คู่มือแนะนำแหล่งท่องเที่ยว เขตธนบุรี ธนบุรีไกด์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Collier and Harraway. (1997) Principler of Tourism. Auckland: Longman Paul Ltd.

Kendall, K. E., & Kendall, J. E. (2011). Systems Analysis and Design. (8 th ed). N.J.: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-09