ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาการตัดต่อวีดิทัศน์และเสียงของนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท คูศิริรัตน์ สาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นุชรัตน์ นุชประยูร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้, นิสิตปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชา การตัดต่อวีดิทัศน์และเสียงสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี(2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี โดยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานในรายวิชาการตัดต ่อวีดิทัศน์และเสียง (3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาการตัดต่อวีดิทัศน์และเสียงของนิสิตระดับปริญญาตรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 25 คน เป็นนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการตัดต่อวีดิทัศน์และเสียง ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2559โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ(1) )แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (2)แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย(3) แบบประเมินความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า(1)ผลการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้ได้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการตัดต่อวีดิทัศน์และเสียงแบบโครงงานเป็นฐาน ประกอบด้วย7ขั้นตอน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในกระบวนการผลิตสื่อวีดิทัศน์และเสียงอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา(2)ผลการเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่า นิสิตได้ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเอง ปฏิบัติด้วยตนเอง สามารถอภิปรายร่วมกันในกลุ่มและนำเสนอผลงาน ส่งผลต่อการฝึกคิดของผู้เรียน ส่วนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้นิสิตมีระดับคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 62.98 คะแนน นิสิตส่วนใหญ่ ร้อยละ 80 มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย (3) ผลประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนิสิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

ดุษฎีโยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้
เพื่อสร้าง เสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จ
ของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.

นงเยาว์อุทุมพร. (2556). กระบวนการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลและตั้งโจทย์วิจัยของนักศึกษาสาขาวิชา
คอมพิวเตอร์ศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
7 (1), หน้า 14.

ปนัดดา ยิ้มสกุล. (2556). สภาพและความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัชภัฏธนบุรี.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 7 (1), หน้า 4.

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว พัชรา วาณิชวศิน และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2559). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้
Project Based Learning ที่มีต ่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9 (1), หน้า 1-6.

ประพันธ์ศิริสุเสารัจ. (2551).การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด
9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัด
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์เดชะคุปต์พเยาว์ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน : การเรียนการสอน
แบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา กุตนันท์. (2545). การศึกษาผลการเรียนปฏิบัติอุปกรณ์เซ็นต์เซอร์แบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยวิธีโครงงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 6 (2), หน้า 53.

ราตรี เสนาป่า และรัตน์ติพร สำอางค์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะ
การเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน ชาตรีนาคะกุล (บรรณาธิการ). การประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอผล
การวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16 “งานวิจัย
เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”. (หน้า 332-343). เพชรบูรณ์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบูรณ์.

ราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงการ. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน
จำกัด เอ็ม ไอ ทีพริ้นติ้ง.

ิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงศ์.

วิมลรัตน์สุนทรโรจน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้โดยโครงงาน. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปี.วารสารวิจัย มข. 1 (1), หน้า 1-16.

Guzdial, M. (1998).Technological support for project-based learning. In ASCD yearbook1998:
Learning with technology, 14, pp. 47-71.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3 rd ed.. Victoria; Deakin
University Press.

Krajcovicova,B. & Capay, M. (2012)Project based educationof computer scienceusing cross-
curricular relations. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 47, pp. 54-61.

Downloads