ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของ สถานพยาบาล สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ พาสกุล สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิริกร กาญจนสุนทร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, ผู้ใช้บริการ, คุณภาพการให้บริการ, สถานพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการ
ของสถานพยาบาลสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สถานพยาบาล
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา) เปรียบเทียบความคิดเห็นของ
ผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาล สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู
และบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวกับการมาใช้บริการ และการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารและปัญหาของผู้ใช้บริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาลสำนักงานส่งเสริม
สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ ่มตัวอย ่าง คือ ผู้ใช้บริการสถานพยาบาล
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 399คน เครื่องมือที่ใช้คือ
แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ การทดสอบแบบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวน วิธีการของเชฟเฟ่ และวิธี
วัดความแตกต่างนัยสำคัญน้อยที่สุดกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05ผลการศึกษา พบว่าผู้ใช้บริการมี
ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของสถานพยาบาลสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ในระดับเห็นด้วยมากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้ใช้บริการที่มีอายุสถานภาพ
สมรส สังกัดหน่วยงาน รายได้ต่อเดือน และโรคประจำตัว ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้
บริการของสถานพยาบาล สำนักงานส ่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
แตกต่างกัน ส่วนปัญหาของผู้ใช้บริการ คือ ปัญหาด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากร
ด้านระบบการทำงาน และด้านความเชื่อถือ

References

กฤษณี บุญช่วย. (2552). ความพึงพอใจของผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมต่อคุณภาพการให้บริการ
ทางการแพทย์โรงพยาบาลปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จินตนา บัวศรี. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคมเกี่ยวกับ
การขอรับค่าบริการทางการแพทย์สำหรับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

พรทิพย์ มโนดำรงสัตย์. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อการดำเนินการก่อนและหลังออกนอกระบบ
ราชการของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
5 (1), หน้า 50-61.

พิทยา รุ ่งแสง. (2554). การเปิดรับข ่าวสารความรู้และการมีส ่วนร ่วมทางการเมืองของประชาชน
ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 5 (2), หน้า 1-18.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2539). คุณภาพของการให้บริการ. กรุงเทพมหานคร : ประชาชน.
สถานพยาบาล สำนักงานส ่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (2557).
ตารางการตรวจให้บริการของสถานพยาบาล สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู
และบุคลากรทางการศึกษา. ค้นเมื่อ10 มิถุนายน 2557,จากhttp://www.otep.go.th/hos.php.

สำนักงานคณะกรรมการส ่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2553).
คู่มือเครือข่ายสุขภาพครู. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการ
และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักสวัสดิการครูสถานพยาบาล สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทาง
การศึกษา. (2550). คู่มือสุขภาพครู.กรุงเทพมหานคร :สถานพยาบาลสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการ
และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

โสรยา พูลเกษ. (2550). ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบัง
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบาย
สวัสดิการสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ.(2542). ขั้นตอนการทำงานกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ รูปแบบสำหรับ
บริการสุขภาพ. นนทบุรี: โครงการสำนักพิมพ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
2562.indd 114 12/7/2562 16:

Downloads