แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สำหรับตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา : กรณีศึกษากิจกรรมการวิ่ง เพื่อสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อุมารินทร์ ราตรี สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา, ส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงกีฬา, มูลค่าการตลาดท่องเที่ยวเชิงกีฬา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา ส่วนประสมทางการตลาด การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและมูลค่าของตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา2) เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าของตลาดการท่องเที่ยว เชิงกีฬาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงกีฬา ที่มีต่อมูลค่าของตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา 4) เพื่อค้นหาแนวทางพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การตลาดในการสร้าง มูลค่าเพิ่มสำหรับตลาดการทองเที่ยวเชิงกีฬาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 และทำการสุ่มแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิติทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบว่ามีความแตกต่างจะวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีLSD การวิเคราะห์ถดถอยและการหาค่า ความสัมพันธ์กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงกีฬา ที่เข้าร่วมงานวิ่งเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการวิ่ง น้อยกว่า 1 ปีเข้าร่วมการวิ่งประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ชอบการวิ่งระยะสั้น (5 กม.) โดยมักจะเข้าร่วมวิ่งกับเพื่อน เหตุผลของการเดินทางมาเข้าร่วมงานวิ่ง เนื่องจากได้ออกกำลังกายและได้ไปท ่องเที่ยวยังสถานที่ใหม ่ ๆ นักท ่องเที่ยวเชิงกีฬามีความคิดเห็นต ่อ ส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงกีฬา (7Ps) และมูลค่าของตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด นักท่องเที่ยวเชิงกีฬาที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันจะมีการประเมินมูลค่าตลาด การท่องเที่ยวเชิงกีฬาแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเชิงกีฬาที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มมูลค่า การตลาดท่องเที่ยวเชิงกีฬา พบว่ามีจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ การนำเสนอลักษณะทางกายภาพ กระบวนการให้ บริการ บุคลากร ด้านสถานที่และการส่งเสริมการตลาด ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560).แผนพัฒนาการทองเที่ยวแห ่ งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2565). ่ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จาก http://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8370.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจของการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของไทย (Sports

Tourism) ประจำปี 2560. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จาก https://secretary.mots.go.th/policy/news_view.php?nid=211.pdf.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2561). อุบลมาราธอน 2018 ประเดิมปีแรกสุดยิ่งใหญ่. ค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/.

ไกด์อุบลดอทคอมออนไลน์. (2561). ปฏิทินงานวิ่งเมืองดอกบัว. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก http://

www.ubonguide.com/2.0/pr-ubon/run-ubon/.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550).การวางแผนและพัฒนาตลาดการทองเที่ยว. ่ (พิมพ์ครั้งที่10).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรพงศ์ ภูมิบ่อพลับ. (2561). การท่องเที่ยวเชิงกีฬาโอกาสสำหรับจังหวัดชายแดนใต้. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11 (2), น. 1800.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่17). กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นุกูล ชิ้นฟัก และคณะ. (2558). การประเมินผลโครงการเดิน-วิ่ง นานาชาติ ม.หาดใหญ่ เพื่อสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 3 ชิงถ้วยพระราชทาน “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”. ทุนสนับสนุนการวิจัย จากคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บีแอลทีบางกอกออนไลน์. (2561). คนไทยแห่วิ่ง 15 ล้านคน ดันงานวิ่งพุ่งนับพัน – เงินสะพัด 5 พันล้านบาท.ค้นเมื่อ20ธันวาคม 2561,จากhttps://www.bltbangkok.com/lifestyle/4497/

รสิกา จันทร์โชติเสถียร.(2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งมาราธอน Run for Life ของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรรณพร สุริโย. (2561). สภาพตลาดของธุรกิจการแข ่งขันกีฬาในจังหวัดเชียงใหม ่. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา.

อัศวิน แผ่นเทอดไทย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ร่วมงานอีเวนต์มาราธอน. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Atlas, R., Nuraini Putit, P. A., Puem, L. B. G. & Enggong, T. S. (2018). Sports Tourism: Factors Influencing Runners Joining Marathon Events. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 8 (16), 218-230.

Eric, H., Melissa, D. & Andrew, B. (2019). Understanding the Adventure Sportscape’s Impact on Consumers’ Destination Image and Event Conative Loyalty. Event management Journal. 23 (3), pp. 329-346.

Jamal, S. A., Othman, N.A. & Muhammad, N.N. (2011). Tourist perceived value in a community-based homestay visit: An investigation into the functional and experiential aspect of value. Journal of Vacation Marketing. 17 (1), pp. 5-15.

Salim, I. S. (2016). The Link between Tourists’ Motivation, Perceived Value and Consumer Loyalty: The Case of Film Festival Branding in Zanzibar. International Journal of Business and Management Invention. 5 (10), pp. 8-28.

Downloads