การศึกษาสภาพการณ์ของการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นในกลุ่ม จังหวัดเมืองรองเขตภาคกลาง : การวิจัยแบบผสมวิธี

ผู้แต่ง

  • ณนนท์ แดงสังวาลย์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ประสพชัย พสุนนท์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ธีระวัฒน์ จันทึก สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ร้านอาหาร, อาหารพื้นถิ่น, เมืองรอง, ภาคกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ของการใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นเปรียบเทียบ ระดับความพึงพอใจในการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจร้านอาหารพื้นถิ่นของผู้มาใช้บริการตาม ลักษณะส่วนบุคคล และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการให้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นในกลุ่ม จังหวัดเมืองรองเขตภาคกลาง ระเบียบวิธีการศึกษาแบบผสมวิธีผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ของ การใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นในกลุ่มจังหวัดเมืองรองเขตภาคกลาง พบว่าผู้บริโภคใช้บริการร้านอาหารพื้นถิ่นที่จังหวัดสุพรรณบุรีมากที่สุด ร้อยละ 19.01 ทราบข้อมูลร้านอาหารพื้นถิ่นจากสื่อออนไลน์ร้อยละ 84.90 ใช้บริการจำนวน 2-3 ครั้ง/ปีร้อยละ 36.62 ใช้บริการในร้านอาหารพื้นถิ่นประเภทร้านอาหารระดับกลาง ร้อยละ 71.92 และมีความพึงพอใจในการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจร้านอาหารพื้นถิ่นโดยรวม อยู่ในระดับมาก(3.71 ± 0.69)2)ผลเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจร้านอาหารพื้นถิ่นในกลุ่มจังหวัดเมืองรองเขตภาคกลาง จำแนกตามเพศ พบว่า ด้านกระบวนการมีความพึงพอใจต่อการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจร้านแตกต่างกัน จำแนกตามสถานภาพและระดับการศึกษาพบว่า มีความพึงพอใจต่อการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ของธุรกิจร้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน และ3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะประกอบด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์และรูปแบบการบริการขาดความชัดเจนของความเป็นวัตถุดิบพื้นถิ่น ไม่มีราคากลางที่เป็นมาตรฐาน มีช่องทางในการจัดจำหน่ายน้อย พิกัดและป้ายบอกทางไม่ชัดเจน ขาดหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ไม่มีสิ่งส่งเสริมการขาย พนักงานขาดความรู้และทักษะในการให้บริการ การออกแบบตกแต่งร้านไม่น่าสนใจ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562. ค้นเมื่อ30เมษายน 2563, จาก ้ttps://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549).สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561).Eat Local: Locallicious. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563, จาก https:// www.Thelocallicious.com

ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์, อนวัช จิตต์ปรารพ และรุจิรา สุขมณี. (2561). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 28 (1), น. 179-193.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2558). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2561). ประเภทของร้านอาหารกับคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 11 (1), น. 303-321.

ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์และศิริพงศ์ รักใหม่. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผล ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13 (1), น. 302-314.

น้ำทิพย์ เตรียมการ และนฤมล นันทรักษ์. (2558). Research and Restaurant Development to the Standard “CleanFood Good Taste”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.11(3), น. 153-161.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). GastronomyTourism:Thailand’s Competitiveness.สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 24 (1), น. 103-116.

พรรณี สวนเพลงและคณะ. (2559).การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomic Tourism). ค้นเมื่อ4 มกราคม 2563, จาก http://asean.psu.ac.th/Data/tourism/topic/17/Gastronomy_Tourism_TH2559.pdf.

พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารไทย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบผู้บริโภคกลุ่ม Gen-X และ Gen-Y. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (1), น. 67-75.

พัชราพรรณ เสงี่ยมศักดิ์และธรรมวิมล สุขเสริม. (2561). ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์.4(2), น.157-173.

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์และสมบัติทีฆทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Downloads