การศึกษาความสัมพันธ์ของชนิดกีฬากับผลสัมฤทธิ์การเรียนของ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศลิษา อำนวยชัย สาขาพัฒนศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิชิต อิ่มอารมย์ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ชนิดกีฬา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนและการเล่นกีฬาของ นักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชนิดกีฬากับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม 3) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของชนิดกีฬากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐมจำแนกตามชนิดกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 204คน จากนักเรียนจำนวน 433คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มใช้(One-Way ANOVA) ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเล่นกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐมดังนี้ปัจจัยด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านผู้สอนอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านเนื้อหาอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านการฝึกซ้อมอยู่ในระดับ มาก 2. นักเรียนที่เล่นชนิดกีฬาที่แตกต่างกันของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม พบว่าไม่มี ความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3. การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของชนิดกีฬากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐมพบว ่า นักเรียนที่อยู ่ในกลุ ่มชนิด กีฬาวอลเลย์บอลมีคะแนนสะสมเฉลี่ยสูงที่สุด และกลุ ่มชนิดกีฬากอล์ฟมีคะแนนสะสมเฉลี่ยต่ำที่สุด สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสามารถแสดงในรูปคะแนนดิบเป็นดังนี้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน = 9.679 + -0.713 ด้านผู้เรียน (X1) + -0.664 ด้านการฝึกซ้อม (X4)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณิต เขียววิชัย. (2554). เรื่องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และความสนใจในการทำกิจกรรมนันทนาการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวีณรัตน์ มณีวรรณ์. (2548).การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรีโดยการวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธภูมิ ดรเถื่อน. (2550). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. (2561). กินป้องกันโรค. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์สุขภาพ.

ศิริวุฒิทิพยไกรศร. (2546). สภาพและปัญหาการเตรียมทีมกีฬารักบี้ฟุตบอลเพื่อเข้าร่วมการแข่งกีฬา มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห ่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10 พ.ศ.2550-2555.ค้นเมื่อ1 มีนาคม 2562,จากhttp://www.nesdb.go.th/Default.axpx? tabid395.

Best, John W. (1981). Research in Education. (4 th ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining sample size for research activities”. Educational and Psychological Measurement, 30, pp.607-610.

Downloads