กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • สุนิรันดร์ รุ่งเรืองรณชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหาร งานวิชาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัด กำแพงเพชร 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงความถี่ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโดยการประชุม ปฏิบัติการ (Work Shop) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยแห่งความสำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) แหล่งข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์และผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผลการ ศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อม ภายนอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงานวิชาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการ ศึกษาของจังหวัดกำแพงเพชรโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของจังหวัด กำแพงเพชร ดำเนินงานตามขอบข่ายของงานวิชาการที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีดังนี้1) การ พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) การคัดเลือกหนังสือแบบเรียน เพื่อใช้ในสถานศึกษา 3) การวางแผนงาน ด้านวิชาการ 4) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้5) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 6) การวัด ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และ 7) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและ มาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ 2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการ พบว่า มีปัญหาการดำเนินงานตามขอบข่าย ของงานวิชาการ ดังนี้1) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 2) การส ่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 3) การแนะแนว 4) การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 5) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 6) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงาน ด้านวิชาการของสถานศึกษา และ 7) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและ องค์กรอื่น ตามลำดับ 3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และการบริหารจัดการ ตามลำดับ 4. กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 ปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนงานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการจัดทำแผนงาน วิชาการโดยเน้นการมีส่วนร่วม กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงระบบโครงสร้างการบริหารงานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานพัฒนาวิชาการ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนางานแนะแนวเพื่อสร้างเสริมค่านิยมรักการ เรียน กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 7 ปรับปรุงเครือข่าย การพัฒนางานวิชาการ กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานวิชาการ และกลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 5. การประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ พบว่า มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้และมีความเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด

References

ิ่งกาญจน์ ยกย่อง. (2558). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดระนอง.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญญาภรณ์ สิทธิ. (2556). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปภานีย์ดอกดวง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาแก้งโนนกาเร็น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.).รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2560. จาก http://www.niets.or.th/th/catalog/view/280.

สัมฤทธิ์ พินิจชัย. (2551).รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนบ้านร้อยไร่.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 : โรงเรียนบ้านร้อยไร่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://www.kpt1.go.th/main/?page_id=107&lang=TH

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกำแพงเพชร. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จาก http://www.kptpeo.moe.go.th/web/

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ปัญญาชน.

Bukosky, A.E. (1999). Comprehensive high school restructucturing : Utilizing school-based management and curricular reforms to increase student achievement comprehensive restructuring. (CD-Rom), Abstract from Pro Quest-File : Dissertation Abtracts Irm: AAC9933792.

Chester, N.M. (1996). An Introduction to School Administration : Selected reading. New York : McMillan Company.

Deming, W.E. (2000). The New Economics. (2 nd ed). Cambridge, MA : MIT Press.

Drucker, P.F. (2005). The effective executive. Australia : Wadsworth.

Mattox, D.D. (1987). A Study of the In-service Needs of ilinois Public School Elementary Principals. Dissertation Abstracts International. 38 (12), 7061-A.

Sergiovanni, T.J. (1999). Educational Governance and Administration. (4 th ed). Boston : Allyn and Bacon.

Downloads